บทที่
3
แนวความคิดโครงการ
แนวความคิดโครงการ คือ
การนำเสนอความสัมพันธ์ในเรื่องขององค์ประกอบต่างๆภายในโครงการ
โดยการนำเสนอความต้องการของโครงการในส่วนต่างๆว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด
โดยการกำหนดแนวทางในการออกแบบโดยเน้นความเป็นไปได้ในการออกแบบ ซึ่งการกำหนดแนวความคิดในการออกแบบโครงการอาจมีหลายแนวความคิด
โดยในขั้นตอนสุดท้ายในการกำหนดแนวความคิดโครงการอาจนำเอาข้อดีของแนวความคิดทั้งหมดมารวมกันแล้วนำมาสรุปอีกครั้งเพื่อให้ได้แนวความคิดโครงการที่เหมาะสมมากที่สุด
โครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเป็นโครงการพิพิธภัณฑ์ที่ส่งเสริมด้านการเรียนรู้และปลูกฝั่งในเรื่องการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ
ซึ่งเป้าหมายของโครงการต้องการที่จะให้โครงการเป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่มีความเป็นสากล
มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยซึ่งก่อนที่จะเริ่มการวางแนวความคิดโครงการควรเริ่มจากการกำหนดรูปแบบเพื่อเป็นแนวทางในการวางแนวความคิดโครงการต่อไป
ซึ่งจะแยกเป็นหัวข้อต่างๆได้ดังนี้
1.รูปแบบทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ของโครงการมีความสอดคล้องกับตัวโครงการซึ่งเป็นโครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำด้วยการสื่อสารออกมาทางรูปแบบของอาคารและวัสดุที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ
2.ที่ว่างภายในและภายนอกของอาคารมีความต่อเนื่องกันสามารถสื่อสารให้ผู้ใช้โครงการรู้สึกเหมือนกำลังเดินอยู่ใต้ทะเลและใช้สภาพแวดล้อมของโครงการในการเพิ่มจุดเด่นของโครงการ
3.โครงการใช้ระบบพิเศษต่างๆในการก่อสร้างหรือใช้ในส่วนนิทรรศการถาวรในเรื่องของการใช้แสงและแท็งก์ปลา
จากในความคิดเบื้องต้นสามารถนำมาอธิบายความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกัน
โดยจะสามารถแยกแนวความคิดออกได้เป็น 4 ด้าน ดังนี้
3.1แนวความคิดด้านหน้าที่ใช้สอย(Function
Concepts)
3.2แนวความคิดด้านรูปแบบ(Form
Concepts)
3.3แนวความคิดด้านเศรษฐศาสตร์(Economy
Concepts)
3.4แนวความคิดด้านเทคโนโลยี(Technology
Concepts)
3.1แนวความคิดด้านหน้าที่ใช้สอย (Function Concepts)
แนวความคิดด้านหน้าที่ใช้สอยเป็นการกำหนดกิจกรรมที่จะสอดคล้องกับที่ว่างภายในและรูปแบบของสถาปัตยกรรม
โดยจะพิจารณาเป็นส่วนๆแยกตามองค์ประกอบตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยจะแยกการนำเสนอออกเป็นส่วนๆดังนี้
3.1.1ภาพรวมของโครงการ (Overall project)
3.1.2ส่วนองค์ประกอบหลักโครงการ
(Main –Function Zone)
- ส่วนนิทรรศการถาวร (ส่วนจัดแสดงพันธุ์ปลา) ส่วนนิทรรศการชั่วคราวและส่วน
จัดแสดงโชว์กลางแจ้ง
3.1.3ส่วนองค์ประกอบรองโครงการ (Sub –Function Zone)
- ส่วนห้องประชุม
ศูนย์การเรียนรู้และส่วนวิจัย
3.1.4ส่วนสนับสนุนโครงการ (Support Zone)
- ส่วนร้านอาหารและร้านขายของที่ระลึกของโครงการ
3.1.5ส่วนสาธารณะ (Public Zone)
3.1.6ส่วนบริหารโครงการ (Administration
Zone)
3.1.7ส่วนบริการอาคาร (Service
Zone)
-แยกเป็น 2
ส่วน คือ ส่วนบริการโครงการและส่วนบริการของส่วนจัดแสดง
3.1.8ส่วนจอดรถ (Parking Zone)
โดยแต่ละส่วนจะมีการกำหนดแนวความคิดโครงการ(Programming Concept) ตามแนวความคิดที่สัมพันธ์กับข้อมูลพื้นฐาน
โดยมีสามารถแสดงรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบโครงการ ด้วยหัวข้อแนวความคิดต่างๆดังนี้
1.แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์(Relationship)
2.แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม
3.แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการ(Operation)
3.1.1ภาพรวมของโครงการ (Overall Project)
1.แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์(Relationship)
เป็นการแสดงแนวความคิดที่สัมพันธ์กับที่ว่าง
การสัญจร
กิจกรรมต่างๆภายในโครงการโดยในกิจกรรมที่เกิดขึ้นนั้นในแต่ละองค์ประกอบต้องมีความต่อเนื่องเป็นเรื่องราวเดียวกันซึ่งจะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานโครงการได้
โดยมีการแบ่งองค์ประกอบต่างดังนี้
1.ส่วนจัดแสดง (Exhibition Zone)
ในส่วนจัดแสดงจะแยกเป็น 3
ส่วนหลักๆคือ ส่วนจัดแสดงถาวร ส่วนจัดแสดงชั่วคราวและส่วนจัดแสดงโชว์กลางแจ้ง
1.1ส่วนจัดแสดงถาวร เป็นส่วนของ Aquarium ที่จะมีการแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่างๆซึ่งจะแยกออกเป็นโซนต่างๆซึ่งในแต่ละโซนจะแสดงพันธุ์สัตว์น้ำและเรื่องราวการนำเสนอที่ต่างกัน
โดยจะมีเรื่องราวของแต่ละโซนจะนำเสนอรายละเอียดในช่วงต่อไป
ซึ่งจะอยู่ด้านในสุดของโครงการและสามารถเชื่อมต่อกับส่วนวิจัย
ส่วนบริหารได้เพื่อความสะดวกในการวิจัย
1.2ส่วนจัดแสดงโชว์กลางแจ้ง เป็นส่วนจัดแสดงโชว์ปลาโลมาซึ่งจะอยู่กลางแจ้งในส่วนจัดแสดงโชว์จะไม่เปิดทำการแสดงทุกวันแต่จะเปิดแค่วันเสาร์อาทิตย์ซึ่งจะอยู่ติดกับส่วนจัดแสดง
ส่วนวิจัย ส่วนบริการของส่วนจัดแสดงถาวร
เพื่อความสะดวกในการดูและสัตว์น้ำทั้งที่ใช้แสดงและภายในรวมทั้งงานระบบของโครงการด้วย
2.ส่วนร้านอาหารและร้านขายของที่ระลึกของโครงการ (Food loft &
Souvenir Shop)
เป็นส่วนร้านอาหารและร้านขายของที่ระลึกของโครงการโดยในส่วนร้านอาหารจะรองรับผู้ใช้งานโครงการซึ่งในส่วนนี้ควรจะติดกับส่วนบริการเพื่อความสะดวกในการขนย้ายขนส่งสินค้าโดยจะแยกเส้นทางในส่วนนี้ซึ่งเป็นเส้นทางบริการออกจากเส้นทางหลักเพื่อควบคุมกลุ่มผู้ใช้โครงการได้เป็นสัดส่วนและเป็นให้โครงการดูเป็นระเบียบมากขึ้น
3.ส่วนสาธารณะ (Public Zone)
เป็นพื้นที่ส่วนกลางของโครงการทำหน้าที่เชื่อมพื้นที่ส่วนต่างๆเข้าด้วยกันและเป็นโถงที่หลักที่ทำหน้าที่ในการรวมผู้ใช้งานโครงการก่อนที่จะแจกเข้าสู่ส่วนต่างๆของโครงการ
4.ส่วนบริหารโครงการ (Administration
Zone)
ส่วนบริหารเป็นส่วนที่ทำหน้าที่บริหารโครงการ
โดยผู้ใช้งานในส่วนนี้คือ
ผู้บริหารและพนักงานในส่วนต่างๆในส่วนบริหารของโครงการควรจะอยู่ในที่ที่เข้าถึงได้ง่ายแต่ควรจะมีการแยกทางเข้าของส่วนบริหารให้แยกกับส่วนทางสัญจรหลัก
5.ส่วนบริการโครงการ (Service Zone)
เป็นส่วนของงานระบบห้องเครื่องต่างๆรวมไปถึงส่วนห้องเก็บของและส่วนซ่อมบำรุงของโครงการโดยในโครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจะแยกส่วนบริการออกเป็นสองส่วนคือส่วนบริการโครงการโดยรวมและส่วนบริการของส่วนจัดนิทรรศการในส่วนบริการนั้นต้องมีทางเข้าที่สามารถเข้าได้ทุกองค์ประกอบโดยเส้นทางสัญจรนั้นต้องแยกออกจากเส้นทางสัญจรของผู้ใช้โครงการอื่นๆอย่างชัดเจน
6.ส่วนจอดรถ (Parking Zone)
ส่วนจอดรถของโครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำนั้นเป็นส่วนที่ใช้จอดรถต่างๆไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ส่วนตัว
รถบัส รถในส่วนของบริหาร รถในส่วนของบริการ
โดยต้องมีทางเข้าจากที่จอดรถที่สามารถเข้าสู่โครงการได้อย่างสะดวกและใกล้รวมถึงในส่วนที่จอดรถของส่วนบริหารและบริการก็ต้องมีความสะดวกในการขนย้ายของเข้าสู่โครงการและมีการจัดเส้นทางการเดินรถของส่วนจอดรถของผู้ใช้โครงการและส่วนของเจ้าหน้าที่ผู้บริหารโครงการให้ชัดเจน
2.แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม
แนวความคิดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเป็นส่วนที่วิเคราะห์เกี่ยวกับกิจกรรมที่มาจากประเภทของโครงการและพฤติกรรมของผู้ใช้งานโครงการโดยนำมาพิจารณาและวิเคราะห์แล้วนำไปกำหนดรายระเอียดของพื้นที่ใช้สอยและกิจกรรมโดยการจัดกลุ่มกิจกรรมของโครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
ก.การจัดกลุ่มกิจกรรม(Activities
Grouping)
ข.ลำดับความสำคัญของกิจกรรม
(Sequence of Activities)
แสดงความสำคัญของกิจกรรม
In เข้าสู่โครงการ ซื้อบัตร ชมนิทรรศการถาวร ชมการแสดงโชว์ ออกจากส่วนจัดแสด ง ซื้อของที่ระลึกและรับประทานอาหาร ออกจากโครงกา ร out
แสดงความสัมพันธ์ระหว่างลำดับของกิจกรรมกับกลุ่มผู้ใช้โครงการรอง
In เข้าสู่โครงการ เข้าสู่โถงหลัก ปฏิบัติงาน รับประทานอาหาร ปฏิบัติงาน ออกสู่โถงหลัก ออกจากโครงการ out
แสดงความสัมพันธ์ระหว่างลำดับของกิจกรรมกับกลุ่มผู้ใช้โครงการรองประเภทกลุ่มพนักงานบริหารโครงการ
In เข้าสู่โครงการ เข้าสู่ส่วนโถงหลัก ปฏิบัติงาน รับประทานอาหาร ปฏิบัติงาน ออกสู่โถงหลัก ออกจากโครงการ out
แสดงความสัมพันธ์ระหว่างลำดับของกิจกรรมกับกลุ่มผู้ให้บริการอาคาร
In เข้าสู่โครงการ เข้าสู่ส่วนโถงหลัก ปฏิบัติงาน รับประทานอาหาร ปฏิบัติงาน ออกสู่โถงหลัก ออกจากโครงการ out
ค.ลำดับความสำคัญของผู้ใช้(Order of Importance)
ง.ความต้องการใช้พื้นที่ของกิจกรรม(Activity Requirements)
กิจกรรมหลักของโครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทะเล
หัวหิน คือ ส่วนจัดแสดงซึ่งในส่วนนี้จะแบ่งออกเป็น
2 กิจกรรมหลักๆ
คือส่วนแสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่จัดแสดงในตู้จัดแสดงโดยจะมีการจำลองระบบนิเวศทางทะเลเพื่อให้เกิดความรู้สึกเหมือนกำลังเดินชมอยู่ในท้องทะเลจริงๆและส่วนจัดแสดงชั่วคราวที่
หมุนเวียนงานวิจัยหรือสิ่งที่เกี่ยวข้องมาจัดแสดง
อีกส่วนคือส่วนจัดแสดงโชว์กลางแจ้งซึ่งเป็นการโชว์ความสามารถของสัตว์น้ำที่ถูกฝึกมา
ส่วนของ Giant
Tank โดยจะเป็นส่วน highlight ของโครงการซึ่งเป็นแท็งก์ขนาดใหญ่ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไว้หลายชนิด
โดยจะมีการแสดงการดำน้ำให้อาหารปลาในส่วนนี้ด้วย โดยมีการใช้แสงสว่างช่วยในการสื่อให้ผู้ใช้โครงการได้รับรู้ถึงที่ว่างที่เหมือนอยู่ใต้ท้องทะเล
ส่วนของอุโมงค์ทางเดินยาวให้ความรู้สึกเหมือนกำลังเดินอยู่ใต้ท้องทะเลโดยมีฝูงปลาว่ายอยู่ข้างบนทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนกำลังใช้ชีวิตอยู่ในใต้ท้องทะเลและยังรู้สึกใกล้ชิดกับปลาอีกด้วย
ลานกิจกรรมบริเวณหน้าโครงการเป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมและเป็น
3.แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการ(Operation)
ก.ระบบบริการ(Service Management)
3.1.1 ส่วนองค์ประกอบหลักโครงการ
3.1.2 ส่วนองค์ประกอบรองโครงการ
3.2แนวความคิดด้านรูปแบบ(FORM CONCEPTS)
แนวความคิดโครงการด้านรูปแบบแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
3.2.1หลักเกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ(Criteria
for Site Selection)
3.2.2แนวความคิดโครงการด้านจินตภาพ(Image Concept)
3.2.1หลักเกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ(Criteria for Site Selection)
โครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทะเล
หัวหิน เป็นโครงการที่จัดแสดงพันธ์สัตว์น้ำในลักษณะพิพิธภัณฑ์ที่จะให้ผู้เข้าใช้โครงการได้รับรู้ถึงการเข้าชมโดยจะรู้สึกเหมือนกับเดินอยู่ใต้ท้องทะเลจริงๆ
ซึ่งในที่นี้จะส่งผลถึงการเลือกพื้นที่ตั้งโครงการที่จะช่วยส่งเสริมโครงการให้มีความน่าสนใจยิ่งขึ้นและทางรูปแบบทางสถาปัตยกรรมทั้งที่ว่างภายในและภายนอกซึ่งหลักในการพิจารณาการเลือกพื้นที่ตั้งโครงการมีดังนี้
1.หลักเกณฑ์ในการเลือกที่ตั้งโครงการ
2.หลักเกณฑ์ในการเปรียบเทียบที่ตั้ง
1.หลักเกณฑ์ในการเลือกที่ตั้งโครงการ
มีหลักในการเลือกโดยจะกำหนดศักยภาพของพื้นที่ที่จะช่วยสนับสนุนโครงการให้มีจุดเด่นและมีที่ว่างที่เชื่อมต่อกันทั้งภายในและภายนอก
ซึ่งจะเลือกที่ตั้งแยกเป็น 3
ที่ซึ่งมีขนาดและศักยภาพที่ใกล้เคียงกัน โดยหลักในการเลือกที่ตั้งโครงการมีดังนี้
1.
แหล่งทรัพยากร (LOCAL
RESOURCE) มีทรัพยากรที่เกื้อหนุนและสอดคล้องกับโครงการมากแค่ไหน
2.
ข้อจำกัดทางกฎหมาย (LAWS) มีข้อกำหนดทางกฎหมายที่เป็นอุปสรรคหรือเกื้อหนุนหรือไม่
3.
กิจกรรมหรือโครงการสนับสนุน (IMPORTANT
LINKAGE) มีความเชื่อมโยงกับกิจกรรมพื้นที่หรือโครงการที่จะสนับสนุนให้ดีขึ้นหรือไม่
4.
ระบบการขนส่ง (TRANSPORTATION)
มีเส้นทางคมนาคมระบบจราจรขนส่งอย่างไร
ความปลอดภัย (SAFETY) มีความปลอดภัยแค่ไหน
นำเอาหลักเกณฑ์ในการเลือกที่ตั้งโครงการมาทำการวิเคราะห์และหาศักยภาพของที่ดินโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบและปัจจัยต่างๆที่สอดคล้องกับโครงการ
3.2.2แนวความคิดโครงการด้านจินตภาพ(Image
Concept)
แนวความคิดโครงการด้านจินตภาพของโครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทะเล
หัวหิน นั้นเป็นโครงการที่จัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำซึ่งรูปแบบทางสถาปัตยกรรมต้องสื่อออกมาให้ผู้ใช้โครงการหรือบุคคลภายนอกรับรู้ได้ถึงโครงการและการเชื่อมต่อของที่ว่างทั้งภายในภายนอกโดยแยกออกเป็นแนวความคิดได้ดังนี้
1.แนวความคิดโครงการด้านจินตภาพภายนอกโครงการ
2.แนวความคิดโครงการด้านจินตภาพภายในโครงการ
1.แนวความคิดโครงการด้านจินตภาพภายนอกโครงการ
อาคารมีความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมและต้องสามารถสื่อให้ผู้ใช้โครงการรับรู้ได้ว่าเป็นโครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
2.แนวความคิดโครงการด้านจินตภาพภายในโครงการ
มีการจัดที่ว่างภายในโดยสามารถเชื่อมต่อและสอดคล้องกับที่ว่างภายนอก
โดยที่ว่างภายในจะมีการจัดในส่วนของพื้นที่จัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำให้ผู้ใช้โครงการรู้สึกเหมือนกำลังเดินอยู่ใต้ท้องทะเลและในส่วนของแท็งก์จัดแสดงพันธุ์ปลาจะมีการจัดเพื่อให้ความรู้สึกเหมือนระบบนิเวททางธรรมชาติมากที่สุด
3.3แนวความคิดด้านเศรษฐศาสตร์(Economy
Concepts)
-
การควบคุมงบประมาณโครงการ(Budget Control)
3.3.1 ประสิทธิภาพอาคาร (Building Efficiency) ประกอบด้วย
ต้องการตามโปรแกรม
เฉพาะพื้นที่ทางสัญจร
ห้องเครื่อง ห้องน้ำส่วนรวม ห้องเก็บของผนังกั้นต่างๆ
โดยไม่รวมพื้นที่จอดรถซึ่งแตกต่างไปตามกฎหมายของแต่ละท้องที่
และพื้นที่ใช้งานภายนอก (Outdoor Space)
เพราะถือเป็นพื้นที่ใช้งานแต่อยู่ภายนอกอาคาร
พื้นที่สนับสนุนต่อพื้นที่ใช้งานสุทธิ
มีระดับโดยทั่วไปอยู่ 3 ระดับ คือ
โดยทั่วไปแล้วสัดส่วนขององค์ประกอบต่างๆของโครงการอาจมีสัดส่วนที่แตกต่างกันได้ขึ้นอยู่กับความสำคัญ
หรือประเภทผู้ใช้ในองค์ประกอบนั้น ทั้งนี้จากภาพรวมที่ต้องการประสิทธิภาพของอาคารให้
อยู่ในระดับที่ดี สัดส่วนโดยประมาณ โดยรวมของโครงการ สัดส่วนพื้นที่ใช้งานสุทธิต่อพื้นที่สนับสนุนจึงกำหนดเป็น
70 : 30
องค์ประกอบโครงการ
|
พื้นที่ใช้สอย
( %)
|
พื้นที่สัญจร(%)
|
1.ส่วนจัดแสดง
2.ส่วนบริหาร
3.ส่วนวิจัย และทดลอง
4.ส่วนร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก
5.ส่วนบริการอาคาร
6.ส่วนจอดรถ
|
70
65
70
60
85
80
|
30
45
30
40
15
20
|
|
แนวความคิดโครงการทางด้านเทคโนโลยี
เป็นการเลือกประเภทของเทคโนโลยีอาคารให้เหมาะสมกับประเภทและลักษณะของโครงการโดยอ้างอิงจากบทที่2
ข้อมูลพื้นฐานโครงการ และสอดคล้องกับบทที่1 เป้าหมายโครงการ
เพื่อใช้ในการพิจารณาหา บทที่4 ในส่วนของรายละเอียดโครงการทางด้านเทคโนโลยี
โดยแนวความคิดโครงการทางด้านเทคโนโลยีของสถาบันส่งเสริมศิลปศาสตร์แฟชั่นนานาชาติ
มีรายละเอียดที่ใช้ในการคำนึงถึง ดังนี้
-ระบบโครงสร้างอาคารต้องเหมาะสมและตอบรับกับรูปแบบอาคาร
-ระบบเทคโนโลยีอาคารและระบบการก่อสร้างต้องมีประสิทธืภาพที่ดีที่สุด
ในปริมาณราคาที่ต่ำที่สุด เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน
-ระบบเทคโนโลยีอาคารมีความเหมาะกับการใช้งานของอาคาร
-ระบบเทคโนโลยีอาคารมีราคาค่าติดตั้ง
และค่าบำรุงรักษาในระยะยาว ที่ไม่สมควรแพงเกินไปนัก เพื่อลดต้นทุนในการลงทุน
-ระบบเทคโนโลยีอาคารต้องมีความปลอดภัยในการใช้งานในระยะยาว
-ระบบเทคโนโลยีอาคารต้องอายุยืนยาวในการใช้งาน
-ระบบเทคโนโลยีอาคารต้องสามารถช่วยประหยัดพลังงานอาคารได้
เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
โดยรายละเอียดแนวความคิดโครงการทางด้านเทคโนโลยีอาคารมี
2ส่วนดังนี้
3.4.1ระบบอาคาร(Building
System)
3.4.2ระบบเทคโนโลยีพิเศษ(Specific
Technology)
3.4.1ระบบอาคาร(Building System)
1ระบบโครงสร้างอาคาร(Building
Structure)
ระบบโครงสร้างเสา-คานเป็นแบบระบบเสาและคานคอนกรีตเสริมเหล็ก
เนื่องจากราคาไม่แพงมากนัก และง่ายต่อการก่อสร้าง
ประกอบกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการก่อสร้างจึงไม่มีขอบเขตในการก่อสร้างในระบบเสาและคานคอนกรีต
1.2ระบบโครงสร้างหลังคา
-ระบบโครงสร้างแบบ Flat Slab
ระบบโครงสร้างหลังคาแบบFlat Slab คล้ายคลึงกับโครงสร้างพื้น เพียงแต่ต้องมีวัสดุกันความร้อน
และวัสดุกันความชื้น
-ระบบแบบ
Truss
ระบบหลังคาแบบโครงสร้างเหล็ก
2มิติ เป็นโครงสร้างที่มีเพื่อส่วนที่มีการดัดโค้ง หรือรูปทรงแปลก
ง่ายต่อการบุวัสดุมุง และตกแต่งองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
-ระบบแบบ
Space Truss
ระบบหลังคาแบบโครงสร้างเหล็ก 3มิติ
เป็นโครงสร้างที่แสดงรูปทรงบางจุด เช่นโดม
หรือรูปทรงต่างที่ต้องการการถ่ายแรงน้ำหนีชักได้ดี
และส่งผลให้รูปลักษณ์อาคารสวยงาม
2.ระบบปรับอากาศ(Air-Conditioning)
-ระบบปรับอากาศแบบ
Split Type
ส่วนพื้นที่ที่มีการใช้ระบบปรับอากาศแบบช่วงเวลา
เช่น ห้องเรียนหรือส่วนห้องทำงาน ก็ควรจะใช้ระบบปรับอากาศระบบนี้ เพื่อความประหยัด
-ส่วนระบบปรับอากาศแบบเครื่องทำน้ำเย็นระบายความร้อนด้วยน้ำ
(Water Cooled
Water Chiller)
ส่วนที่ต้องใช้ระบบปรับอากาศแบบตลอดเวลา
หรือพื้นที่การใช้งานมีขนาดใหญ่เช่นส่วนสาธารณะ หรือส่วนจัดแสดงนิทรรศการควรจะใช้ระบบนี้
3.ระบบสุขาภิบาล
3.1ระบบประปา
-ระบบประปาใช้แบบระบบFeed
Down เนื่องจากเป็นกลุ่มอาคาร
ความสูง3-4ชั้นจึงควรใช้ระบบนี้เนื่องจากส่งน้ำได้ดีกว่าระบบอื่น
3.2ระบบน้ำเสีย
-ระบบน้ำเสียแบบทั่วไปโดยแยกเป็นระบบน้ำเสียจากอ่างหน้า ระบบน้ำเสียจากท่อ
และระบบน้ำเสียจากห้องครัว โดยระบายมาตามท่อแนวนอน
แล้วมารวมกันในท่อแนวตั้งแล้วจึงนำไปบำบัดก่อนปล่อยสู่ท่อน้ำเสียสาธารณะ
โดยอุปกรณ์ร่วมระบบระบายน้ำเสีย คือ ที่ดักกลิ่น ตะแกรงดักกลิ่น และที่ดักไขมัน
3.3ระบบโสโครก
- ระบบน้ำโสโครกเป็นระบบที่ระบายของเสียจากโถส้วม
และโถปัสสาวะโดยระบบเดินท่อ จะมีท่อแนวนอนที่ต่อออกจากแหล่งกำเนิดสิ่งโสโครก
และท่อแนวตั้งที่เป็นท่อรวมท่อแนวนอนก่อนนำไปยังถังบำบัด โดยอุปกรณ์ร่วม
คือช่องทำความสะอาดท่อ
-ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ
ระบบนี้เหมาะกับอาคารขนาดกลาง ซึ่งง่ายต่อการดูแลรักษา มีประสิทธิภาพดี
และราคาไม่แพง
4ระบบไฟฟ้ากำลัง(Electricity)
-ระบบไฟฟ้ากำลังแบบ Sub-station
เนื่องจากต้องการของกำลังไฟฟ้าสูง
เพื่อความสะดวกสบายของโครงการในการจ่ายปริมาณไฟฟ้าจำนวนมาก
จึงจำเป็นต้องแยกหม้อแปลงไฟฟ้าออกมาต่างหาก
โดยแยกส่วนเป็นของภายในโครงการจากระบบไฟฟ้าสาธารณะโดยทั่วไป
5.ระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน(Emergency System)
-ระบบไฟฟ้าฉุกเฉินแบบดีเซล เป็นระบบที่ทำงานอัตโนมัติ คือ
หลังจากที่ไฟฟ้าเมนดับระบบจะสตาร์ทเครื่องและมีสวิทซ์สับเปลี่ยนจ่ายไฟให้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่สำคัญ
-ระบบไฟฟ้าฉุกเฉินแบบแบตเตอร์รี่
จะถูกติดตั้งเพื่อให้แสงสว่างในระหว่างที่รอไฟจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
6.ระบบป้องกันฟ้าผ่า(Lighting Protection System)
ระบบป้องกันไฟฟ้าแบบนี้สามารถป้องกันฟ้าผ่ารอบอาคารได้
โดยส่วนประกอบสำคัญได้แก่
1.สายล่อฟ้า
2.สายนำลงดิน
3.สายรายดิน
7.ระบบสื่อสารโทรคมนาคม(Communication)
7.1ระบบโทรศัพท์(Telephone
System)
-ระบบโทรศัพท์ภายในอาคารหลังจาก เชื่อมสายจากองค์การโทรศัพท์กับห้องชุมสายแล้ว สายโทรศัพท์จะแยกเข้าตู้สาขา เพื่อจัดระบบ
และหมายเลข จากนั้นจะส่งไปยังแผงควบคุมในแต่ละชั้น
-ระบบโทรศัพท์
ใช้สำหรับติดต่อระหว่างหน่วยงานในโครงการ
-ระบบโทรศัพท์สาธารณะสำหรับบุคคลทั่วไป
7.2ระบบโทรทัศน์วงจรปิด(CCTV
System)
-ระบบรักษาความปลอดภัยรวม
และแยกส่วนตามจุดสำคัญของอาคาร
ระบบโทรทัศน์วงจรปิดแบบระบบรักษาความปลอดภัยรวมของอาคาร
โดยจะมีการติดตั้งกล้องตามตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ ทางเข้า โถง ในลิฟท์ ร้านอาหาร
และส่วนพื้นที่อื่นๆ ซึ่งจอภาพสามารถปรับเปลี่ยนการมองด้วยการตั้งเวลาในการดู
เพื่อให้เกิดการมองพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง
ในกรณีที่อาคารมีขนาดใหญ่และมีความต้องการในการรักษาความปลอดภัยสูง
8.ระบบป้องกันอัคคีภัยและระบบดับเพลิง(Fire
Protection Extinguishers)
8.1ระบบป้องกันอัคคีภัย
ใช้แบบระบบทั้ง Smoke Detector และ Heat Detector
ซึ่งเมื่อเกิดเพลิงไหม้จะทำการแสดงผลไปยังห้องควบคุมเพื่อส่งสัญญาณเตือนภัยไปยังระบบ
Fire Detector System โดยระบบ Sprinkle
ซึ่งเมื่อโดนความร้อนจนถึงอุณหภูมิที่กำหนดไว้ ปรอทจะแตกและปล่อยน้ำออก
เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการป้องกันภัยที่ดี
8.2ระบบดับเพลิง
-ชนิดสายสูบ
เป็นระบบท่อแห้งไม่มีน้ำอยู่ในสภาวะท่อปกติแต่มีอูปกรณ์ควบคุน้ำที่ส่งมาในท่อระบบนี้จะใช้คนนำสายสูบใช้ได้กับทุกมุม
ความยาวสายทั่วไป 15, 23และ30 เมตร
-ชนิดโปรยน้ำสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติคือการเดินท่อไปตามฝ้าเพดานแบบ
GRIDโดยเว้นระยะให้หัวฉีดกระจายน้ำออกไปซึ่งน้ำในท่อจะมีความดันพร้อมจ่าย
9.ระบบแสงสว่าง(Lighting)
-การให้แสงทางตรง คือ
แสงสว่างที่พุ่งตรงจากจุดกำเนิดแสงมาสู่สายตาเราโดยตรงโดยไม่มีวัสดุบัง
ดวงโคมที่ให้แสงสว่างจะต้องสะท้อนแสงลงมาได้ประมาณ 90 %
โดยการให้แสงทางตรงนั้นมักจะใช้ในการให้แสงสว่างในสำนักงาน โถง
ส่วนแสดงแฟชั่นโชว์ส่วนแสดงนิทรรศการและสถานที่ที่ต้องการเน้นแสงเฉพาะจุด
-การให้แสงกึ่งตรง คือ
การออกแบบให้แสงสว่างออกจากด้านล่าง ของแหล่งกำเนิดแสงโดยตรงเพียงประมาณ 60-90% ของปริมาณแสงทั้งหมด และกำหนดให้แสงส่วนที่เหลือฉายขึ้นไปกระทบเพดานส่วนหนึ่งและสะท้อนกระจายออกไป
การเลือกใช้แสงแบบกึ่งตรงนั้นจะใช้สำหรับสำนักงาน ห้องเรียน
และสถานที่ต่างๆที่ต้องการแสงสว่างเฉลี่ยในระดับที่เสมอกันทั่วบริเวณ
12.ระบบขยะ
ระบบการจัดเก็บขยะใช้แบบแยกขยะเปียก และแห้ง
ซึ่งสามารถแยกขยะในเบื้องต้นได้ก่อนที่จะออกนอกโครงการเพื่อนำไปกำจัด
ซึ่งระบบนี้สามารถรักษาดูแลได้ง่าย และไม่เสียค่าใช้จ่ายมากในการจัดเก็บ
3.4.2
ระบบเทคโนโลยีพิเศษเฉพาะโครงการ ( Specific
Technology)
ข้อมูลพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีพิเศษเฉพาะ สามารถนำมาสรุปเพื่อ
เลือกใช้ให้มีความเหมาะสมกับโครงการ โดยแบ่งตามหัวข้อต่างๆ
ดังนี้
1.ระบบหมุนเวียนน้ำภายในส่วนจัดแสดง
- ระบบน้ำแบบเปิด
เป็นระบบน้ำที่ได้ความเป็นธรรมชาติของน้ำทะเลมากที่สุด เหมาะที่จะใช้ในส่วนของAquarium
ที่มีขนาดใหญ่ Giant Tank
และเป็นระบบที่ใช้น้ำครั้งเดียว
- ระบบน้ำแบบปิด
เป็นระบบที่ต้องการปริมาณน้ำเพิ่มเติมน้อย ควยคุมอุณหภูมิได้ง่ายเหมาะกับส่วน
Aquarium ที่มีขนาดเล็ก Small
Tank และเป็นระบบที่ต้องเตรียมพื้นที่สำหรับกรองน้ำ
และน้ำใช้แล้วมีการหมุนเวียน
2.ระบบการให้อากาศในตู้เลี้ยง
เป็นระบบที่ใช้เครื่องปั้มลมขนาดใหญ่ ที่มีความดันลมมา จะต้องมีกระแสไฟฟ้าสำรองตลอด
24 ชม.
3.ระบบกำจัดน้ำเสีย
น้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำทะเลจะไม่สกปรกมากนัก เนื่องจากมีสารอินทรีย์ละลายอยู่ในน้ำ จึงควรบำบัดก่อนปล่อยทิ้งลงสู่สาธารณะ โดยจัดให้มีบ่อสาหร่ายกลางแจ้งเพื่อดูดซับสารอินทรีย์ทำให้น้ำบริสุทธิ์ขึ้น
4.ระบบกรองน้ำ
ระบบการกรองน้ำ เลือกใช้ระบบการกรองทางชีวภาพ ที่ใช้ แบคทีเรียเป็นตัวกรอง
ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงและยังเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย
5.ขนาดและวัสดุที่ใช้ทำ Tank
วัสดุที่นำมาใช้ประกอบตู้แสดง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
- กระจก
มีราคาถูกกว่า ทนทานต่อการขูดขีด
ทำให้สะดวกต่อการทำความสะอาดหากเกิดตะไคร่เกาะ แต่กระจกมีข้อเสียคือ มีสีเขียวอ่อน
โดยจะเห็นได้ชัดเมื่อมีความหนาเกิน 2 หุน
- แผ่นอะคลิลิกใส เป็นวัสดุที่ใส ไม่มีสี
ทำให้มองเห็นสีสันสวยงามกว่า
มีน้ำหนักเบาสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย
แต่มีราคาแพงมาก
เกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย
เมื่อใช้ไปนานๆ ก็จะเริ่มกลายเป็นสีเหลือง
การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับขนาดของถังแสดง
- Giant Tank สามารถเลือกใช้กระจก ชนิด Temper-
Laminated เช่นกระจกหุนประกบ 2-3
ชั้นแล้วแต่ขนาดช่องมองที่สามารถทำด้วยกระจกได้ อยู่ในขนาดประมาณ 1.50 ม - 3.00
ม. หากจะใหญ่กว่านี้ต้องใช้ Acrylic นำเข้าจากต่างประเทศ
-
Medium Tank & Small
Tank ใช้กระจก
Temper หรือ Temper- Laminated แล้วแต่ขนาดตู้ปลา Round
Tank ใช้
Acrylic นำเข้าจากต่างประเทศ
ระบบโครงสร้างพิเศษ
ระบบโครงสร้างท่อใต้น้ำ เป็นระบบโครงสร้างที่อยู่ใต้น้ำ โดยจะอยู่ในถังแสดงขนาดใหญ่ วัสดุที่นำมาใช้ เป็น Acrylic Tunnel
ซึ่งเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถทนต่อ แรงต้านของแรงดันน้ำได้ การจัดทำระบบนี้จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
เพื่อความปลอดภัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น