บทที่
1
เป้าหมายโครงการ
(GOAL)
โครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทะเล
หัวหิน เกิดจากความร่วมมือของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และกาท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ความควบคุมของสถาบันวิจัยทางทะเล
ที่ต้องการจะจัดตั้งโครงการศูนย์จัดแสดงสัตว์น้ำทางทะเล เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวของอำเภอหัวหิน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่กำลังเติบโตเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับภูมิภาค
และนานาชาติ
จากการที่ปัจจุบันทรัพยากรทางทะเลมีความเสียหายที่มาจากการกระทำของมนุษย์และจากเหตุการณ์ภัยพิบัติทาธรรมชาติทำให้ทรัพยากรทางทะเลเสียหายซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลและอาจทำให้สูญพันธุ์ไป
จึงทำให้เกิด “โครงการพิพิธภัณฑ์สิ่งมีชีวิตในทะเลหัวหิน” ซึ่งเป็นโครงการพิพิธภัณฑ์ที่นำพันธุ์สัตว์น้ำมาจัดแสดงเพื่อความสวยงามให้ความรู้
ด้วยการจำลองการอยู่อาศัยในโลกใต้ทะเลที่มีความสวยงาม บรรยากาศที่เหมือนกับเดินอยู่ใต้ท้องทะเล
เป็นโครงการที่มีศูนย์วิจัยเพื่อวิจัยแก้ปัญหาทรัพยากรทางทะเลในฝั่งอันดามันและอนุบาลปลาหรือสัตว์น้ำบาดเจ็บต่างๆมาทำการรักษาก่อนส่งกลับสู่ทะเล
เป็นโครงการที่จะปลูกฝังให้เยาวชนรุ่นใหม่เข้าใจและทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้รู้จักรักษาทรัพยากรทางทะเล
อีกทั้งยังเป็นการยกระดับพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในประเทศไทยให้มีความทันสมัยเท่าเทียมกับต่างประเทศและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถสร้างรายได้และส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับประเทศไทยและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ได้อีกด้วย
1.1เป้าหมายโครงการทางด้านหน้าที่ใช้สอย (FUNCTION GOAL)
1.1.1กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้โครงการ (User Target Group)
1.กลุ่มผู้ใช้โครงการ
ก.กลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก
(Main User)
กลุ่มผู้ใช้หลักโครงการ ได้แก่
นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ นักเรียนนักศึกษาบุคคลทั่วไป
-กลุ่มผู้ใช้หลักโครงการส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวโดยรถส่วนตัวหรือมากับกลุ่มทัวร์โดยนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จะมีมากที่สุด
รองลงมาคือกลุ่มของนักเรียนนักศึกษาที่มาศึกษาวิจัยและจัดแสดงงานหรือมากับทางมหาวิทยาลัย
กลุ่มสุดท้ายเป็นกลุ่มของบุคคลทั่วไป
ข.กลุ่มผู้ใช้โครงการรอง (Sub User)
กลุ่มผู้ใช้โครงการรอง ได้แก่
กลุ่มของนักวิจัยทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
-นักวิจัยที่เป็นบุคลากรของโครงการ นักวิจัยจากภาคเอกชนและต่างประเทศ
อาจารย์ประจำคณะที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะมาใช้โครงการในส่วนของศูนย์วิจัยเป็นหลักซึ่งจำนวนผู้ใช้ในกลุ่มนี้ต่อปีอาจมีจำนวนที่ไม่เท่ากันเนื่องมาจากลักษณะและสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ของระบบนิเวศในขณะนั้น
ค.กลุ่มผู้บริหารและพนักงานของโครงการ
(Administrators and Staffs)
กลุ่มผู้บริหารและพนักงานของโครงการ ได้แก่
กลุ่มผู้บริหารโครงการ กลุ่มผู้ประกอบการร้านค้า
กลุ่มพนักงานและเจ้าหน้าที่โครงการ
- เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญกับโครงการซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่โครงการตลอดเวลาหรือบ่อยที่สุด
ซึ่งคอยดูแลและบริหารโครงการ
2.การกำหนดปริมาณผู้ใช้โครงการ
การหาจำนวนผู้ใช้โครงการของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทะเล
หัวหิน สามารถคำนวณหาได้โดยการนำข้อมูลการเข้าชมของโครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่มีขนาดใกล้เคียงและจำนวนนักท่องเที่ยวของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ในแต่ละปีมาทำการหาค่าเฉลี่ยจำนวนผู้ใช้ต่อวัน
ข้อมูลสถิติการเข้าชมสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา
ปี พ.ศ. 2540-2553
กราฟแสดงผู้เข้าชมปี 2540-2553 ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
ม.บูรพา
สรุปผลการเพิ่ม-ลด ของจำนวนผู้ชมเมื่อคิดเป็น%
คิดจากสถิติผู้เข้าชมปี พ.ศ. 2540-2553
นำมาหาอัตราเฉลี่ยผู้เข้าชม
จะได้ผู้เข้าชมเฉลี่ยในระยะเวลา 14 ปี =
14,402 คน
นำมาคิดจำนวนผู้ใช้งานในอีก 10 ปี ข้างหน้า
กราฟแสดงจำนวนผู้เข้าชมในอีก 10 ปี ข้างหน้า ปี 2554
– 2563 สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา
กราฟแสดงจำนวนผู้เข้าชมปี 2541 – 2563 ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา
แสดงข้อมูลด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พ.ศ. 2549- 2551
ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว
|
ปี
พ.ศ.
|
||
2549
|
2550
|
2551
|
|
จำนวนนักท่องเที่ยวรวม (คน)
|
2,315,081
|
2,439,159
|
2,710,714
|
จำนวนนักท่องเที่ยวไทย (คน)
|
1,859,637
|
1,987,059
|
2,224,736
|
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
(คน)
|
455,444
|
452,100
|
485,978
|
ระยะวันพักเฉลี่ย (วัน)
|
2.35
|
2.35
|
2.52
|
ค่าใช้จ่ายนักท่องเที่ยวต่อหัวต่อวัน
(บาทต่อวัน)
|
2030.22
|
2,081.13
|
2,804.57
|
รายได้ที่เกิดจากการท่องเที่ยว
(ล้านบาท)
|
8,480.82
|
9,215.22
|
9,860.28
|
จำนวนห้องพักสำหรับนักท่องเที่ยว(ห้อง)
|
4,434
|
5,321
|
5,805
|
อัตราการเข้าพักเฉลี่ยทั้งปี
(ร้อยละ)
|
59.25
|
52.59
|
60.73
|
ที่มา: ปี 2549-2550
กองวิชาการ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
1.1.2เป้าหมายองค์ประกอบโครงการและพื้นที่ใช้สอยโครงการ
(Functional
Component and Area Requirement)
1.องค์ประกอบโครงการ(Function Component)
โครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำฝั่งทะเลอันดามันจังหวัดกระบี่เป็นโครงการประเภทพิพิธภัณฑ์
จะมีองค์ประกอบของโครงการดังนี้
ส่วนองค์ประกอบหลัก : ส่วนจัดแสดง : ส่วนจัดแสดงถาวร , ส่วนจัดแสดงชั่วคราว
ส่วนองค์ประกอบรอง : ส่วนวิจัยและเพาะพันธุ์ ,
ศูนย์การเรียนรู้ , ห้องประชุม
ส่วนสนับสนุน : ร้านอาหาร , ร้านขายของที่ระลึก
ส่วนสาธารณะ : ส่วนของลานภายนอกและLANDSCAPE
ส่วนบริหาร
ส่วนบริการ
ส่วนจอดรถ
ส่วนจัดแสดงเป็นส่วนที่แสดงพันธุ์สัตว์น้ำและเป็นส่วนที่ใช้แสดงผลงานของนักวิจัยที่มาทำการวิจัยโดยจะประกอบด้วย
ส่วนจัดแสดงถาวร(Permanent Exhibition Area) ในส่วนนี้จะเป็นส่วนจัดแสดงสัตว์น้ำซึ่งจะแบ่งเป็น
ZONE ต่างๆ ซึ่งแต่ละ ZONE จะมีพันธุ์สัตว์น้ำที่แสดงและลักษณะของการเล่าเรื่องที่ต่างกันไปในแต่ละ
ZONE ทั้งยังรวมถึง จำนวน ขนาด รูปแบบ ของTANKที่จัดแสดงสภาพแวดล้อมต่างๆในแต่ละ
ZONE เพื่อให้เกิดความรู้สึกและบรรยากาศที่สอดคล้องกับเรื่องราวในแต่ละ
ZONE ซึ่งรวมไปถึงจะมีการโชว์การให้อาหารปลาและให้ลงไปดำน้ำกับปลาอีกด้วย
2.ส่วนองค์ประกอบรอง: ส่วนวิจัย
ส่วนวิจัยและเพาะพันธุ์ (RESEARCH
& BREEDING) ในส่วนนี้จะเป็นส่วนของนักวิจัยและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องซึ่งจะมีห้อง
LAB
สำหรับทำการวิจัยและมีส่วนของบ่อซึ่งเป็นที่เพาะพันธ์และอณุบาลสัตว์น้ำก่อนนำไปไว้ในส่วนจัดแสดงอีกทั้งยังเป็นส่วนรักษาสัตว์น้ำที่บาดเจ็บหรือป่วย
โดยในส่วนนี้จะห้ามบุคคลภายนอกเข้า
3.ส่วนสนับสนุน: ร้านอาหาร, ร้านขายของที่ระลึก
ร้านอาหาร FOODCOURT, COFFEE &
SNACK SHOP ส่วนของร้านอาหารแยกเป็น 2 ส่วน
คือ FOODCOURT และ COFFE & SNACK SHOP
-
FOODLOFT ส่วนทานอาหารซึ่งเป็นพื้นที่ให้เช่าโดยซึ่งจะมีทั้งส่วนที่เป็นร้านอาหารและห้องอาหารเพื่อรองรับนักท่องเที่ยงหรือนักวิจัยที่มาเป็นหมู่คณะเพื่อสะดวกต่อการบริการ
-
COFFEE
& SNACK SHOP อยู่ในส่วนของพื้นที่จัดแสดงถาวรซึ่งในส่วนของร้านจะติดกับ
TANK ซึ่งสามารถทานของว่างหรือน้ำโดยดูปลาไปพร้อมกันได้ด้วย
ร้านขายของที่ระลึก (SOUVENIR SHOP) ร้านขายของที่ระลึกของโครงการซึ่งจำหน่อยของฝากซึ่งจะเป็นส่วนที่สามารถดึกดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติได้ดีโดยเป็นส่วนที่สามารถสร้างรายได้ให้กับโครงการได้ดีอีกด้วย
4.ส่วนสาธารณะ ส่วนของลานภายนอก
ส่วนสาธารณะ(LANDSCAPE & HALL) เป็นส่วนต้องรับของโครงการโดยในส่วนนี้จะมีทั้งพื้นที่สำหรับนั่งรอ
ซื้อบัตร โดยส่วนพื้นที่นี้มีขนาดใหญ่เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้โครงการ
ส่วน LANDSCAPE นอกจากเพื่อความสวยงามแล้วยังเป็นพื้นที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถมาถ่ายรูปในระหว่างที่รอหรือเป็นจุดนัดพบกับเพื่อนที่จะมาใช้โครงการได้อีกด้วย
5.ส่วนบริหาร (Administration Zone)
ส่วนบริหาร
ทำหน้าที่บริหารสถาบันให้ดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ทั้งในแง่ของทางด้านการศึกษา การจัดระบบหลักสูตรการเรียนการสอน
ในส่วนของการติดต่อประสานงานทั้งภายนอกและภายในสถาบัน การบริหารทางด้านเศรษฐศาสตร์
และการให้บริการแก่ผู้มาติดต่อ หรือผู้ที่มาดำเนินกิจกรรมในโครงการ
ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนย่อยดังนี้
1.ส่วนบริหาร
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ดำเนินงานทางด้านบริหารสถาบัน
ประกอบด้วย
-ผู้อำนวยการสถาบัน
2.ส่วนที่สนับสนุนฝ่ายบริหาร
คือส่วนที่ทำหน้าที่ดำเนินงานตามส่วนบริหารให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่สถาบันได้วางเอาไว้
ซึ่งประกอบด้วย
-แผนกการเงิน
การบัญชี
6.ส่วนบริการ SERVICE
ส่วนบริการอาคาร
คือส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับโครงการในแง่ของการบำรุงรักษาอาคารและการควบคุมงานระบบภายในโครงการ
รวมถึงการดูแลความเรียบร้อยต่างๆภายในโครงการ ซึ่งประกอบไปด้วย
1.ส่วนพื้นที่ปฏิบัติการ
ของงานระบบ อาทิเช่น ส่วนบำบัดน้ำเสีย ห้องควบคุมงานทุกประเภท ห้องขยะ เป็นต้น
2.ส่วนพื้นที่ที่สำหรับพนักงานฝ่ายบริการอาคาร
อาทิเช่น ห้องพักผ่อนพนักงาน ส่วนรับประทานอาหาร ฝ่ายเทคนิค ฝ่ายซ่อมบำรุง
ฝ่ายรักษาความสะอาด ฝ่ายรักษาความปลอดภัยของอาคาร เป็นต้น
ดังนั้นพื้นที่ของส่วนบริการอาคาร(Service Zone)
นั้นควรมีพื้นที่ที่เป็นสัดส่วนแยกออกจากส่วนต่างๆของโครงการอย่างชัดเจน
เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้คนที่ดำเนินกิจกรรมภายในส่วนต่างๆของโครงการมาปะปนกับส่วนบริการอาคาร
แต่จะต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมต่อกันแง่ของประโยชน์ใช้สอย
โดยส่วนบริการจะต้องสามารถให้บริการแก่ส่วนต่างๆของโครงการได้เป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว
ถึงจะทำให้การออกแบบพื้นที่ส่วนการให้บริการนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
7.ส่วนจอดรถ
ส่วนจอดรถ
คือส่วนที่ใช้รองรับยานพาหนะของผู้ที่เข้ามาดำเนินกิจกรรมภายในโครงการในรูปแบบต่างๆ
โดยยานพาหรนะอาจจะเป็นไปในรูปแบบของจักรยาน จักรยานยนต์ รถยนต์ รถตู้
ซึ่งอาจจะรวมถึงที่จอดรถสำหรับรถบริการ
ดังนั้นเพื่อความชัดเจนในการออกแบบ
คำนวณพื้นที่ และคำนวณราคาค่าก่อสร้าง จึงแยกที่จอดรถออกจากองค์ประกอบอื่นๆ
บางโครงการอาจแยกที่จอดรถเป็นดังนี้
-ที่จอดรถสำหรับผู้มาดำเนินกิจกรรมภายในโครงการโดยตรง
( public parking zone)
-ที่จอดรถสำหรับฝ่ายบริหารโครงการ(
service parking Zone)
-ที่จอดรถสำหรับฝ่ายบริการอาคาร(
service parking zone)
โดยการออกแบบพื้นที่ที่จอดรถนี้จะมีความสัมพันธ์กับ
ประเภทของพื้นที่ใช้สอยภายในโครงการ การเข้าถึงโครงการ
และความจำกัดของเนื้อที่โครงการ
1.2เป้าหมายโครงการทางด้านรูปแบบ(Form Goals)
1.การเลือกทำเลที่ตั้งโครงการ (Location
selection)
รูปที่1.31 แสดงส่วนการเลือกทำเลที่ตั้งโครงการ ที่มา : google.co.th
ประเทศไทยมีส่วนที่ติดกับทะเลโดยภาคใต้ติดกับ
ทะเลอันดามันภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ติดกับอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีทรัพยากรทางทะเลที่หลากหลายสวยงาม
ซึ่งปัจจุบันทรัพยากรเหล่านี้ได้ถูกทำลายลงโดยธรรมชาติและโดยมนุษย์
โดยมีโครงการฟื้นฟูและวิจัยทรัพยากรเหล่านี้ ผ่านทางศูนย์วิจัย
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำกรมประมงหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมปัญหาดังกล่าวได้ ทำให้มีการนำปลาชนิดต่างๆมาเพาะพันธุ์และจัดแสดงให้ความรู้
ปลูกฝังความคิด ในการช่วยกันรักษาทรัพยากรเหล่านี้ไว้ ทำให้เกิด
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นโดยปัจจุบันประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์สัตว์หลายแห่งแต่มีเพียงไม่กี่แห่งที่มีความพร้อมทั้งด้านบุคลากรและอุปกรณ์
ทำให้บางที่ไม่สามารถทำงานได้ตามที่กำหนดซึ่งขัดแย้งกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ที่มีความพร้อม
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในประเทศไทย มีทั้งหมด 20 ที่
อยู่ในบริเวณภาคเหนือ 4 ที่
อยู่ในบริเวณภาคตะวันออก 4 ที่
อยู่ในบริเวณภาคตะวันตก 1 ที่
อยู่ในบริเวณกลาง 7 ที่
อยู่ในบริเวณภาคใต้ 4 ที่
แสดงส่วนการเลือกทำเลที่ตั้งโครงการ ที่มา : google.co.th
ภาคใต้
จากข้อมูลข้างต้นที่นำมาอ้างอิงจะเห็นได้ว่า “ภาคใต้”
มีแหล่งท่องเทียวที่สวยงามและสร้างรายได้ให้ประเทศหลายแห่งประกอบกับภาคใต้มีรายได้จากการท่องเที่ยวมากที่สุดของประเทศ
ซึ่งในปัจจุบันได้เกิดปัญหา ปะการังฟอกขาว ซึ่งสาเหตุเกิดจากอุณหภูมิของน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างในทะเลอันดามันทำให้ทรัพยากรทางทะเลต่างๆเริ่มถูกทำลายลงและอาจหมดไปในที่สุด
ในปัจจุบันได้มีการประชุมและแก้ไขในเรื่องนี้บ้างแล้วโดยใช้ปะการังเทียมในการฟื้นฟูสมดุลของทะเลในฝั่งอันดามันให้กลับมาสวยงามดังเดิม
จากการวิเคราะห์ในข้างต้นทำให้ได้เลือก ภาคใต้ เป็นที่ตั้งโครงการ
ภาคใต้
สภาพภูมิประเทศภาคใต้
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีทิวเขาที่สำคัญ ได้แก่ ทิวเขาตะนาวศรี
ทิวเขากรุงเทพ ทิวเขานครศรีธรรมราช โดยมีทิวเขาสันกาลาคีรี
เป็นพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ทิวเขาในภาคใต้มีความยาวทั้งสิ้น
1,000 กิโลเมตร
แม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำกระบุรี แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตะกั่วป่า
แม่น้ำท่าทอง แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตาปี แม่น้ำปากพนัง แม่น้ำตรัง แม่น้ำสายบุรี
แม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำโกลก
ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรที่มีทะเลขนาบอยู่ 2 ด้าน คือ
ตะวันออกด้านอ่าวไทย และตะวันตกด้านทะเลอันดามัน
จังหวัดพัทลุงและจังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเลภายนอก
ชายหาดฝั่งอ่าวไทยเกิดจากการยกตัวสูง มีที่ราบชายฝั่งทะเลยาว เรียบ กว้าง
และน้ำตื้น ทะเลอันดามันมีชายฝั่งยุบต่ำลง มีที่ราบน้อย ชายหาดเว้าแหว่ง
เป็นโขดหิน มีหน้าผาสูงชัน
สภาพภูมิอากาศ
ภาคใต้มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวที่ได้เปรียบมากกว่าภาคอื่นๆในประเทศไทยประกอบกับมีธรรมชาติที่สวยงามเป็นจุดขายของแต่ละจังหวัดซึ่งในส่วนนี้คือธรรมชาติที่สวยงามของทะเลอันดามันและเป็นภาคที่ทำรายได้ให้ประเทศได้มาก
โดยมีเพียง 2 จังหวัดที่ไม่ได้ติดทะเล
โดยเลือกจังหวัดที่ติดทะเลฝั่งอันดามันคือจังหวัด
ระนอง พังงา ภูเก็ต
กระบี่ ตรัง สตูล
เนื่องจากมีความหลากหลายทางระบบนิเวศที่มากว่าฝั่งอ่าวไทยประกอบกับในขณะนี้เกิดปัญหาปะการังฟอกขาวซึ่งกำลังเป็นที่น่าเป็นห่วงเพราะอาจกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวของประเทศ
ในปัจจุบันในภาคนี้มีพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทั้งหมด 4 แห่ง
คือจังหวัด
ภูเก็ต
สุราษฏร์ธานี ตรัง สงขลา
โดยพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่มีนักท่องเที่ยวไปมากที่สุดคือ
ภูเก็ต
เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตเป็นเกาะและเป็นจังหวัดที่ทำรายได้มากที่สุดของประเทศ
ประกอบกับเป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่เป็นที่รู้จัก
แต่จากการที่ได้ทำการวิเคราะห์และทำการสรุปที่ตั้งโครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำซึ่งน่าจะอยู่ติดกับทะเลเพื่อที่จะศึกษาระบบนิเวศทางทะเลได้อย่างใกล้ชิดสะดวกโดยเลือกทะเลฝั่งอันดามันทำให้เหลือจังหวัดที่น่าจะมีโครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเกิดขึ้นดังนี้
ภาคใต้มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวที่ได้เปรียบมากกว่าภาคอื่นๆในประเทศไทยประกอบกับมีธรรมชาติที่สวยงามเป็นจุดขายของแต่ละจังหวัดซึ่งในส่วนนี้คือธรรมชาติที่สวยงามของทะเลอันดามันและเป็นภาคที่ทำรายได้ให้ประเทศได้มาก
โดยมีเพียง 2 จังหวัดที่ไม่ได้ติดทะเล
โดยเลือกจังหวัดที่ติดทะเลฝั่งอันดามันคือจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต
กระบี่ ตรัง สตูล
เนื่องจากมีความหลากหลายทางระบบนิเวศที่มากว่าฝั่งอ่าวไทยประกอบกับในขณะนี้เกิดปัญหาปะการังฟอกขาวซึ่งกำลังเป็นที่น่าเป็นห่วงเพราะอาจกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวของประเทศ
ในปัจจุบันในภาคนี้มีพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทั้งหมด 4 แห่ง
คือจังหวัดภูเก็ต
สุราษฏร์ธานี ตรัง สงขลา
โดยพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่มีนักท่องเที่ยวไปมากที่สุดคือ
ภูเก็ต
เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตเป็นเกาะและเป็นจังหวัดที่ทำรายได้มากที่สุดของประเทศ
ประกอบกับเป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่เป็นที่รู้จัก
แต่จากการที่ได้ทำการวิเคราะห์และทำการสรุปที่ตั้งโครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำซึ่งน่าจะอยู่ติดกับทะเลเพื่อที่จะศึกษาระบบนิเวศทางทะเลได้อย่างใกล้ชิดสะดวกโดยเลือกทะเลฝั่งอันดามันทำให้เหลือจังหวัดที่น่าจะมีโครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเกิดขึ้นดังนี้
จังหวัดที่ยังไม่มีพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำและอยู่ติดทะเล
พื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อำเภอหัวหิน
สรุปการเลือกทำเลที่ตั้ง
โดยใช้หลักเกณฑ์ในการให้คะแนนในการเลือกดังนี้
1. แหล่งทรัพยากร (LOCAL RESOURCE) มีทรัพยากรที่เกื้อหนุนและสอดคล้องกับโครงการมากแค่ไหน
2. ข้อจำกัดทางกฎหมาย (LAWS) มีข้อกำหนดทางกฎหมายที่เป็นอุปสรรคหรือเกื้อหนุนหรือไม่
3. กิจกรรมหรือโครงการสนับสนุน (IMPORTANT LINKAGE) มีความเชื่อมโยงกับกิจกรรมพื้นที่หรือโครงการที่จะสนับสนุนให้ดีขึ้นหรือไม่
4. ระบบการขนส่ง (TRANSPORTATION) มีเส้นทางคมนาคมระบบจราจรขนส่งอย่างไร
5. ความปลอดภัย (SAFETY) มีความปลอดภัยแค่ไหน
โดยแบ่งระดับคะแนนดังนี้ (คะแนนเต็ม 25 คะแนน)
แหล่งทรัพยากร (LOCAL RESOURCE)
= 5
ข้อจำกัดทางกฎหมาย (LAWS)
= 5
กิจกรรมหรือโครงการสนับสนุน (IMPORTANT LINKAGE) = 5
ระบบการขนส่ง (TRANSPORTATION) = 5
ความปลอดภัย (SAFETY)
= 5
ทำการเลือก SITE โดยวิเคราะห์จากสถานที่ที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวและอยู่ติดกับถนนหลักและใกล้กับทะเลโดยจากการวิเคราะห์จะแยกได้เป็น
3 ที่
SITE01
พื้นที่ประมาณ 36,800ตรม.หรือ 23 ไร่
SITE01ใช้เวลาในการเดินทางจากตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์
30 นาที มีหาดและสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คึกคักมีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและชาวต่างชาติ
อยู่ใกล้สนามบินท่องเที่ยวและจุดพักรถทั่ว
SITE02 พื้นที่ประมาณ 31,200 ตร.มหรือ 19 ไร่
SITE02อยู่ใกล้กับแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่พัก
SITE 03 พื้นที่ประมาณ 31,250 ตร.มหรือ 19 ไร่
SITE 03 สถานที่ที่เลือกอยู่ติดกับสถานที่ท่องเที่ยวและบริเวณศูนย์การค้า
จากการให้คะแนนการเลือกทำเลที่ตั้งของโครงการทั้ง
3 แห่งจะเห็นได้ว่าSITE01 บริเวณ มีศักยภาพที่เหมาะจะเป็นที่ตั้งโครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมากที่สุด
เนื่องจากปัจจัยทางกายภาพในด้านต่างๆ
1.2.2
การกำหนดขนาดที่ตั้งโครงการ (Size of the Proposed Site)
การพิจารณาหาพื้นที่โครงการเบื้องต้นมีขั้นตอน
ดังนี้
พื้นที่site
23 ไร่
23 x 1,600 = 36,800 ตร.ม
OSR 40
% = 36,800 x 0.4
= 14,720ตร.ม
พื้นที่อาคารรวม = 14,720x2
= 29,440
FAR = 14,720/2
= 7,360
36,800/7360 = 1:0.5
FAR = 1:0.5
สรุป
ขนาดพื้นที่ตั้ง 23 ไร่
Floor Area
Ration 1 : 0.5
Open Space
Ration 40 %
1.2.3.เป้าหมายจินตภาพโครงการ(Image Goal)
เป้าหมายจินตภาพโครงการ
หมายถึงรูปแบบหรือลักษณะของภาพรวม
และส่วนประกอบต่างๆของอาคารที่ต้องการหรือกำหนดสำหรับโครงการ
โดยโครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำฝั่งทะเลอันดามัน
มีหลักเกณฑ์ของการสื่อจินตภาพในงานสถาปัตยกรรมของโครงการ ดังนี้
1.กิจกรรมและหน้าที่ใช้สอย(Activity and Function)
โครงการมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่ทันสมัย
มีการเชื่อมต่อของที่ว่างภายในและภายนอกที่สอดคล้องกันโดยจะแสดงออกมาในรูปแบบของที่ว่างภายในที่จะสื่อถึงโครงการที่เป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำโดยรูปร่างของอาคารจะมีลักษณะลื่นไหลเพื่อสอดคล้องกับที่ว่างภายในที่ต้องการจะสื่อให้เหมือนกับเดินอยู่ภายในทะเล
2.ผู้ใช้โครงการ (User)
กลุ่มผู้ใช้โครงการจะเน้นไปที่กลุ่มของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่เข้ามาใช้โครงการโดยเน้นไปที่ทุกวัยเพราะโครงการเป็นโครงการที่เน้นการให้ความรู้และความเพลิดเพลินในการเข้าชม
3.ที่ตั้งและสภาพแวดล้อมของโครงการ
(Site and Environment)
ในการเลือกที่ตั้งของโครงการสามารถกำหนดได้ 2 แบบ แบบที่ 1 ต้องการสภาพแวดล้อมที่สอดคล้องกับโครงการคือ
การเลือกทำเลที่ตั้งที่อยู่ติดทะเล แบบที่ 2 โครงการตั้งในสภาพแวดล้อมอื่นๆคืออยู่ในเมือง
โดยโครงการนี้ได้เลือกที่ตั้งที่อยู่ติดทะเลเพื่อให้ผู้ใช้งานโครงการได้รับรู้ที่ว่างทั้งภายใน
ภายนอกที่สอดคล้องกันโดยสามารถใช้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติมาช่วยให้ตัวสถาปัตยกรรมดูมีเอกลักษณ์ขึ้นได้
4.ยุคสมัยและสไตล์ตามเวลาที่โครงการนั้นเกิดขึ้น(Time
Period and Style)
ลักษณะอาคารสถาปัตยกรรมของโครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมีลักษณะที่ทันสมัยและสอดคล้องกับกิจกรรมและที่ว่างภายใน
.3เป้าหมายโครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์(ECONOMY GOALS)
1.3.1เงินทุนโครงการ ( Source of Investment )
-โครงการของภาคเอกชน
อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลโดยกรมประมงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
-ภาคเอกชนมีเงินทุนร้อยละ 40
ในรูปบริษัทเอกชนร่วมลงทุนกับภาคเอกชนต่างประเทศ
-แหล่งเงินกู้ต่างๆตามสัดส่วนร้อยละ
60 โดยอัตราเฉลี่ย ดอกเบี้ยเงินกู้ประมาณ 8
- ธนาคารพาณิชย์ให้บริการเกี่ยวกับเงินกู้ทั้งระยะสั้นและยาวอัตราดอกเบี้ยประมาณ
8%
-สถาบันทางด้านการเงินอื่นๆเช่น บริษัทประกันภัย
ทรัสต์ อัตราดอกเบี้ยมากน้อยจะขึ้นอยู่กับระยะเวลากู้
1.3.2งบประมาณเบื้องต้น ( Initial Budget )
-ราคาค่าก่อสร้าง ( Building cost ) ตารางเมตรละ 15,000 บาท
พื้นที่ใช้สอยอาคารโดยประมาณ 30,000ตารางเมตร
ราคาค่าก่อสร้าง 15,000 x 30,000 = 450,000,000 บาท
-ราคาที่ดิน ( Land Cost ) = 1,000,000 บาท/ไร่
-ราคาที่ดิน =
1,000,000 x 25 = 25,000,000
-ราคาปรับปรุงที่ดิน 450,000 บาท /ไร่
พื้นที่ก่อสร้างโดยประมาณ 25
ไร่
ราคาปรับปรุงที่ดิน 450,000 x 25 = 11,250,000 บาท
ค่าดำเนินการก่อสร้าง 20% =
450,000,000 x 20% = 90,000,000 บาท
รวมงบประมาณการก่อสร้างเบื้องต้น
450,000,000+25,000,000+11,250,000+90,000,000= 576,250,000 บาท
ราคาค่าก่อสร้าง
|
อัตราการคำนวน
|
ราคา
|
1.
ราคาค่าก่อสร้าง
2.
ราคาที่ดิน
3.
ค่าปรับปรุงที่ดิน
|
15,000 บาท/ต.ร.ม
-
450,000บาท/ไร่
|
450,000,000 บาท
25,000,000 บาท
11,250,000 บาท
|
4.
ค่าดำเนินการ
|
20%
|
90,000,000 บาท
|
รวมงบประมาณเบื้องต้น
|
|
576,250,000 บาท บาท
|
1.3.3 ผลตอบแทนทางการเงิน ( Financial Prospect)
รายได้หลักของโครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทะเล หัวหิน จะได้มาจากส่วนพิพิธภัณฑ์และส่วนจัดแสดงต่างๆภายในโครงการ
ส่วนรายได้รองของโครงการจะมาจากการส่วนจัดแสดงงานนิทรรศการ และบัตรผ่านของผู้เข้าชมงาน
1.3.4ผลตอบแทนสังคม (Social Benefits )
1.ช่วยส่งเสริมความรู้ในเรื่องของทรัพยากรทางทะเลและปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
2.เป็นสถานที่ที่ช่วยก่อเกิดให้มีการใช้เวลาว่างที่เป็นประโยชน์
3.ช่วยเผยแพร่ข้อมูลที่สำคัญที่จะเป็นประโยชน์ในอนาคตในส่วนของการวิจัยต่างๆที่เกิดขึ้น ภายในโครงการ
1.4 เป้าหมายโครงการทางด้านเทคโนโลยี (TECHNOLOGY GOAL)
1.4.1เป้าหมายเทคโนโลยีอาคาร
1.Air-Condition
การใช้ระบบปรับอากาศทั้งในระบบ sprit type และระบบ water
chiller type ตามลักษณะการใช้งานของแต่ละพื้นที่อาคารที่มีความแตกต่างกันออกไป
เพื่อการประหยัดพลังงาน
2.Structureการใช้ระบบโครงสร้างอาคารแบบเสาและคานคอนกรีตเสริมเหล็กและผนังรับน้ำหนัก
ผสมกับโครงสร้างเหล็ก เพื่อลดความสูงของอาคาร และความรวดเร็วในการก่อสร้าง
3.Electric
system เป็นการใช้ระบบไฟฟ้ากำลัง(Power Supply System) และระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน ( Emergency System)
4.Sound Control
การใช้วัสดุกันเสียง หรือหน้าต่างกระจก 2ชั้น
เพื่อลดปริมาณเสียงและเสียงสะท้อนที่จะรบกวนในส่วน ห้องสมุด ห้องแสดงนิทรรศการ
หรือส่วนต่างๆที่ไม่ต้องการเสียงรบกวน
5.Emergency
Control เป็นระบบควบคุมและสัญญาณเตือนภัย จากกรณีอัคคีภัย
อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector ) อุปกรณ์ตรวจจับควัน
( Smoke Detector) และอุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ ( Flame
Detector )
6.Lighting System ระบบไฟฟ้าส่องสว่างในส่วนห้องเรียน
ห้องสมุดและส่วนที่เกี่ยวข้องกับส่วนการศึกษา
และการออกแบบลำแสงโดยหลอดประดิษฐ์ภายในส่วนนิทรรศการ
7.Special
System ส่วนของงานระแบบต่างๆในส่วนจัดแสดงถาวร ซึ่งในที่นี้คือ TANK
จัดแสดง ระบบควบคุมน้ำภายในที่จัดแสดงพันธุ์ปลา
ตู้ปลาอะคลีลิคที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการก่อนสร้างและระบบต่างๆในส่วนจัดแสดง
โครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทางทะเล
เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการแสดงที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ
หลัก ซึ่งเป็นน้ำทะเลที่ต้องมีการควบคุมเป็นพิเศษเพราะจะต้องรักษาความสมดุลให้เหมือนน้ำทะเล
ซึ่งแบ่งได้เป็นระบบหลัก ๆ ดังนี้
-ระบบการกรองน้ำ
- กรองแบบธรรมชาติ โดยใช้ทราย กรวด หิน
- กรองโดยใช้วัสดุสังเคราะห์ โดยใช้ใยแก้ว
-ระบบการกักเก็บและถ่ายเทน้ำ
-ใช้เครื่องจักรสูบน้ำเข้าบ่อพัก และสูบน้ำออกจากถังเลี้ยง
-ใช้ระบบธรรมชาติในการปล่อยน้ำเข้าถังเลี้ยงโดยใช้หลักการปล่อยน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
-ระบบบำบัดน้ำ
-ส่วนน้ำเค็ม ต้องนำไปทำการบำบัดให้มีความเค็มลดลง จนสามารถนำปล่อยลงสู่ท่อ
ระบายน้ำสาธารณะได้
-ส่วนน้ำจืด บำบัดเสร็จแล้วสามารถปล่อยลงท่อสาธารณะได้
ระบบพิเศษ
- การใช้ ACRYLIC TUNNELS ในส่วน AQUARIUM ที่มีการแสดงระบบนิเวศน์ใต้ทะเล
เช่น ZONEโลกใต้ทะเล ทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกเหมือนอยู่ใต้ทะเลจริง
ๆ
-การใช้ระบบเสียง DIGITAL SURROUND ในส่วนของ
AUDITORIUM ทำให้ได้รับฟังเสียง
ได้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด
-ใช้ระบบคอมพิวเตอร์แสดงข้อมูลที่สามารถสื่อสารกับผู้ชมได้ ติดตั้งไว้รอบ ๆ
อาคาร
-ใช้ระบบไฟที่มี คุณสมบัติพอในการช่วยสังเคราะห์แสงของพืชทะเล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น