วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 2



บทที่ 2
ข้อมูลพื้นฐานโครงการ

โครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทะเล หัวหิน เป็นโครงการพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำโดยโครงการเป็นโครงการที่มีแล้วในประเทศไทยแต่ยังไม่มีในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดังนั้นจึงศึกษารายละเอียดจากโครงการที่มีความใกล้เคียงกัน (Case Study) ในการหาข้อมูลพื้นฐานโครงการโดยจะนำเอาข้อมูลของกรณีศึกษามาทำการวิเคราะห์และสรุปเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับเป้าหมายโครงการ ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้

2.1ข้อมูลพื้นฐานด้านหน้าที่ใช้สอย (FUNCTION FACTS)
2.2ข้อมูลพื้นฐานด้านรูปแบบ (FORM FACTS)
2.3ข้อมูลพื้นฐานทางด้านเศรษฐศาสตร์ (ECONOMIC FACTS)
2.4ข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยี (TECHNOLOGY FACTS)

2.1 ข้อมูลพื้นฐานด้านพื้นที่ใช้สอย (Function facts)
          ศึกษาจากกรณีศึกษาแล้วนำมาวิเคราะห์และปรับให้เข้ากับโครงการโดยสอดคล้องกับเป้าหมายโครงการที่กำหนดไว้ โดยสามารถแบ่งเป็นหัวข้อต่างๆได้ดังนี้
2.1.1 ผู้ใช้โครงการ (Users)
2.1.2 กิจกรรม (Activity)
2.1.3 ตารางเวลา (Time Schedule)

2.1.1 ผู้ใช้โครงการ (Users)
1.โครงสร้างองค์กร(Authority Structure)
การศึกษาโครงสร้างขององค์กรเป็นการศึกษาทางด้านระบบการบริหารและการจัดการภายในองค์กรของโครงการ โดยการนำเสนอจะนำเสนอในรูปแบบของแผนผังองค์กรโดยจะแสดงถึงความสัมพันธ์และระดับความสำคัญขององค์ประกอบภายในองค์กรและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโครงการ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักดังนี้



1.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
โครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทะเล หัวหิน เกิดจากความร่วมมือของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกาท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ความควบคุมของสถาบันวิจัยทางทะเล
2.หน่วยงานภายในองค์กร
หน่วยงานต่างๆภายในองค์กรของโครงการโครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทะเล หัวหิน สามารถแบ่งหน่วยงานออกเป็นหน่วยต่างๆได้ดังนี้
1.      ฝ่ายบริหาร
2.      ฝ่ายพิพิธภัณฑ์
3.      ฝ่ายศูนย์วิจัย
4.      ฝ่ายบริการ
ซึ่งแต่ละฝ่ายจะทำงานโดยประสานงานกัน สามารถนำมาสรุปในรูปแบบของแผนผังโครงสร้างองค์กร(Organization Chart) ได้ดังนี้ (ดูแผนผังที่ 2.1 ผังโครงสร้างองค์กร)

2.ปริมาณผู้ใช้โครงการ(Number of User)
            ในการพิจารณากลุ่มเป้าหมายผู้ใช้โครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทะเล หัวหินนั้นจะอ้างอิงถึงข้อมูลสถิติของกรณีศึกษาที่จัดเป็นประเภทเดียวกันหรือใกล้เคียงกับโครงการโดยสามารถแยกประเภทของผู้ใช้โครงการได้ 3 ประเภทดังนี้
            -กลุ่มผู้ใช้หลัก
            -กลุ่มผู้ใช้รอง
            -กลุ่มผู้บริหารโครงการและพนักงาน

กลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก
            กลุ่มผู้ใช้โครงการหลักประกอบด้วย
            -นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ
            -นักเรียนนักศึกษา
            -บุคคลทั่วไป
โดยจำนวนผู้ใช้ชมโครงการอ้างอิงจากโครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในจังหวัดใกล้เคียงหรือโครงการที่มีขนาดใกล้เคียงกับโครงการ โดยยกกรณีศึกษามาเพื่อหาจำนวนผู้เข้าชมโครงการโดยการคำนวณหาผู้ใช้โครงการจะอ้างอิงข้อมูลจากบทที่ 1 ซึ่งได้ทำการหาจำนวนผู้ใช้โครงการแล้วโดยจะนำจำนวนผู้ใช้โครงการจากการคำนวณมาสรุปในบทนี้

นำข้อมูลสถิติจากการวิเคราะห์มาสรุปหาพื้นที่โครงการโดยนำข้อมูลมาหาค่าเฉลี่ย
ข้อมูลสถิติการเข้าชมพิพิธพันธ์สัตว์น้ำจังหวัดภูเก็ต = 519,606 คนต่อปี หรือ 1,424 คน ต่อวัน
ข้อมูลสถิติการเข้าชมสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา = 1,037,376 คนต่อปี หรือ 2,842 คน ต่อวัน
ข้อมูลสถิติแสดงจำนวนนักท่องเที่ยวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ = 3,226,141 คนต่อปี หรือ 8,839 คน ต่อวัน
จำนวนนักท่องเที่ยวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เข้าชมพิพิธพันธ์สัตว์น้ำคิดเป็นร้อยละ 20 จากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด
= 3,226,141 x 100 หาร 20 = 645,228 คนต่อปี = 1767.7 = 1768 คนต่อวัน
นำมาหาค่าเฉลี่ยจำนวนผู้ใช้ในหนึ่งวัน
1,424 + 2,842 + 1768 หาร 3 = 2011.3 = 2011 คนต่อวัน
ดังนั้นโครงการมีผู้ใช้โครงการ 2,011 คนต่อวัน


กลุ่มผู้ใช้โครงการรอง
กลุ่มผู้ใช้โครงการรองประกอบด้วย
-กลุ่มนักวิจัยทั้งชายไทยและชาวต่างประเทศ
            นักวิจัยที่เป็นบุคลากรของโครงการ นักวิจัยจากภาคเอกชนและต่างประเทศ อาจารย์ประจำคณะที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะมาใช้โครงการในส่วนของศูนย์วิจัยเป็นหลักซึ่งจำนวนผู้ใช้ในกลุ่มนี้ต่อปีอาจมีจำนวนที่ไม่เท่ากันเนื่องมาจากลักษณะและสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ของระบบนิเวศในขณะนั้น
มีจำนวนประมาณ 100คน/ปี
ที่มา : ศึกษาจากกรณีศึกษา กรณีศึกษาที่ 1 สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ จ. ภูเก็ต
กรณีศึกษาที่ 2 สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา บางแสน จ.ชลบุรี

กลุ่มผู้บริหาร และพนักงาน
          กลุ่มผู้บริหารและพนักงานของโครงการ  ได้แก่  กลุ่มผู้บริหารโครงการ กลุ่มผู้ประกอบการร้านค้า กลุ่มพนักงานและเจ้าหน้าที่โครงการ
- เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญกับโครงการซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่โครงการตลอดเวลาหรือบ่อยที่สุด ซึ่งคอยดูแลและบริหารโครงการ ซึ่งโครงการเป็นโครงการของเอกชนทำให้มีอัตราในการจ้างสูงกว่าโครงการของรัฐทำให้สามารถแยกจำนวนพนักงานและผู้บริหารได้ดังนี้
ตาราง2.1 แสดงปริมาณกลุ่มผู้บริหาร และพนักงาน
ประเภทผู้ใช้
กลุ่มผู้บริหารและพนักงาน
หน้าที่ความรับผิดชอบ
จำนวน
(คน)
ที่มา
1. ฝ่ายบริหาร
-ผู้อำนวยการโครงการ



-เลขานุการ







-ประชาสัมพันธ์



-เจ้าหน้าที่แผนกการเงิน บัญชี

-เจ้าหน้าที่แผนกติดต่อประสานงาน

-เจ้าหน้าที่แผนกทะเบียน และสถิติ


2.ฝ่ายการศึกษาห้องสมุดและศูนย์การเรียนรู้
-เจ้าหน้าที่ดูแลห้องสมุด


--บรรณารักษ์



-นักวิจัยประจำศูนย์การเรียนรู้

-เจ้าหน้าที่แผนกห้องโสตทัศนูปกรณ์


3.ฝ่ายห้องประชุมสัมมนา
-เจ้าหน้าที่แผนกติดต่อประสานงาน







-เจ้าหน้าที่แผนกเทคนิค


4.ลูกจ้างประจำ
-นักการภารโรง


-พนักงานดูแลส่วนพิพิธภัณฑ์

-พนักงานฝึกปลา

5.ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน
-พนักงานขายของ

-คนสวน


-นักการภารโรง

-พนักงานขับรถ



รับผิดชอบในด้านการบริหารของสถาบัน รวมถึงการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง

จดบันทึกการนัดหมายและวาระการประชุมต่างๆ รวมถึงการประสานงานต่างๆระหว่างกลุ่มผู้บริหารโครงการ บริการและทำงาน




ให้บริการข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ที่มาติดต่อ และอำนวยความสะดวก เบื้องต้นแก่ผู้ที่มาติดต่อกับทางโครงการ

ดูแล และจัดการด้านการเงินการบัญชีของสถาบัน

ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานต่างๆทั้งระหว่างภายในส่วนต่างๆของโครงการ

จัดทำทะเบียน ประวัติเจ้าหน้าที่คณาจารย์และนักศึกษาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ



ดูแลและให้คำแนะนำให้กับผู้ใช้โครงการ

ควบคุมการใช้งาน จัดเก็บรักษาห้องสมุดและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่มาใช้บริการ

ให้คำแนะนำในและช่วยในการทำกิจกรรมในส่วนของศูนย์การเรียนรู้

ควบคุมการใช้งานและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่มาใช้บริการห้องโสตฯ และอุปกรณ์ต่างๆ


ติดต่อ จัดการ และประสานงานระหว่างส่วนต่างๆที่ทำหน้าที่จัดแสดงงาน รวมถึงการติดต่อ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง





ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆที่เป็นระบบอิเลคทรอนิกส์ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง


ทำความสะอาดและดูแลความเรียบร้อยโครงการ

ทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของส่วนพิพิธภัณฑ์

ฝึกและดูแลปลาในส่วนจัดแสดงโชว์


จำหน่ายอาหารในส่วนของศูนย์อาหาร

ดูแลและตกแต่งสวนในส่วนของโครงการ


ดูแลในส่วนของศูนย์อาหาร

ส่งเอกสารและขนย้ายสิ่งของต่างๆในภายโครงการ

1



1







3



4


2


2





8


2



10


2




2








2



6


8


5


15

4



8

2
ข้อมูลจากกรณีศึกษาที่ 1 สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ จ. ภูเก็ต
กรณีศึกษาที่ 2 สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา บางแสน จ.ชลบุรี แล้วนำข้อมูลมาทำการสรุปแล้วปรับให้เข้ากับโครงการ




















รวม

87




ที่มา : จากการคำนวณค่าเฉลี่ยจาก Case study
ตาราง2.2 แสดงปริมาณผู้ใช้โครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำฝั่งทะเลอันดามันจังหวัดภูเก็ต
กลุ่มผู้ใช้
ปริมาณ(คน)
1.กลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก
2,011
2.กลุ่มผู้ใช้โครงการรอง
300
3.กลุ่มผู้บริหาร และพนักงาน
87
รวม
2,398
ที่มา : ข้อมูลจากปริมาณผู้ใช้โครงการ
ลักษณะผู้ใช้โครงการ (USER CHARACTERISTICS)
ในการพิจารณาในส่วนของกลุ่มผู้ใช้โครงการสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ จังหวัดภูเก็ตสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มคือ
-กลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก
-กลุ่มผู้ใช้โครงการรอง
-กลุ่มผู้บริหารและพนักงาน
โดยผู้ใช้โครงการแต่ละกลุ่มก็จะมีลักษณะเฉพาะตัวในส่วนของกายภาพ  สังคม ความรู้สึก ประสบการณ์ โดยสามารถแบ่งกลุ่มผู้ใช้โครงการทั้ง 3 กลุ่มสรุปออกมาตามลักษณะของผู้ใช้ได้เป็น 3 ด้านคือทางกายภาพ ทางจิตวิทยา และทางสังคม ได้ดังนี้

1.ทางด้านกายภาพ(Physical)
ลักษณะผู้ใช้โครงการทางด้านกายภาพ คือ ลักษณะทางร่างกาย และอายุของกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการลักษณะทางกายภาพเฉพาะ จำแนกได้ดังนี้
1.1กลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก
-ไม่จำกัดอายุ ไม่จำกัดเพศ
-มีสุขภาพพลานามัยร่างกายแข็งแรง


1.2กลุ่มผู้ใช้โครงการรอง
-มีอายุระหว่าง 25-60 ปี ไม่จำกัดเพศ
-มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์
1.3กลุ่มผู้บริหารและพนักงาน
-มีอายุระหว่าง 20-50 ปีไม่จำกัดเพศ
-มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์
-ไม่มีข้อบกพร่องทางกายภาพที่เป็นอุปสรรคในการทำงาน
-มีความสามารถในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและทำได้ดี
2.ทางด้านจิตวิทยา(Psychological)
ลักษณะผู้ใช้โครงการทางด้านจิตวิทยา คือ การรับรู้ทางด้านจิตวิทยาของแต่ละกลุ่มผู้ใช้โครงการที่ต่างกัน จำแนกได้ดังนี้
2.1กลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก
-กลุ่มที่ต้องการความสนุกสนานและความรู้ในการเข้าชมโครงการ
-กลุ่มที่สนใจและต้องการที่จะหาความรู้ในเรื่องของทรัพยากรทางทะเล
2.2กลุ่มผู้ใช้โครงการรอง
-กลุ่มนักวิจัยที่มีมีประสบการณ์ความรู้ในเรื่องของระบบนิเวททางทะเลและต้องการค้นคว้าเพื่อหาความรู้ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
2.3กลุ่มผู้บริหารและพนักงาน
-ลักษณะทางจิตวิทยาของกลุ่มคนที่อายุระหว่าง 20-45 ปี เป็นไปในลักษณะของความต้องการความรู้สึกที่เรียบง่าย มั่นคง และความรู้สึกปลอดโปร่งซึ่งมีผลต่อการทำงาน
 3.ทางด้านสังคม(Social)
          ลักษณะผู้ใช้โครงการทางด้านสังคม คือ ลักษณะสังคมที่แตกต่างกันจะทำให้ผู้ใช้มีพฤติกรรมการใช้สอยพื้นที่ต่างกัน มีผลต่อความชอบในเรื่องรสนิยมความชอบ การที่ลักษณะของสังคมแตกต่างอาจเนื่องมาจาก ระดับการศึกษา เชื้อชาติ ศาสนา อายุ และเพศ  จำแนกได้ดังนี้
3.1กลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก
กลุ่มของนักท่องเที่ยวไม่จำกัดอายุโดยการนำเสนอจะแยกตามประเภทของอายุ
-ลักษณะทางสังคมของกลุ่มวัยรุ่น หรือกลุ่มผู้ใช้โครงการหลักเป็นกลุ่มคนในทุกเพศทุกวัย มีความสนใจในและต้องการหาความรู้ในเรื่องของระบบนิเวททางทะเลและต้องการความเพลิดเพลินสนุกสนาน โดยกลุ่มผู้ใช้งานในส่วนนี้จะมาเป็นกลุ่ม
-ลักษณะของกลุ่มวัยรุ่น จะมีระดับการศึกษาไม่เกินระดับปริญญาตรี ซึ่งจะมีรสนิยมแบบหนึ่งที่ต่างจากกลุ่มคนที่ทำงาน หรือมีอายุส่วนใหญ่จะมากับเพื่อนเป็นกลุ่มหรือมากับหน่วยงาน มหาวิทยาลัย
-ลักษณะของกลุ่มที่มีครอบครัวหรือมีอายุ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติโดยจะมาแบบเป็นครอบครัวหรือมาคนเดียว
3.2กลุ่มผู้ใช้โครงการรอง
-ลักษณะทางสังคมของกลุ่มคนที่มีอายุ 25-60ปี เป็นไปในลักษณะของสังคมกลุ่มคนทำงานวิจัยหรือนักศึกษาที่ทำงานเกี่ยวกับการวิจัยทางด้านระบบนิเวศวิทยาทางทะเลหรือที่เกี่ยวข้องที่ต้องการพื้นที่สำหรับปฏิบัติงานวิจัยและทดลอง
ลักษณะทางสังคมของกลุ่มคนที่มีอายุ 25-60ปี เป็นไปในลักษณะของสังคมกลุ่มคนทำงานวิจัยชาวต่างชาติที่เข้ามาวิจัยและแลกเปลี่ยนความรู้กับนักวิจัยในโครงการหรือนักวิจัยที่มาจากหน่วยงานของภาครัฐที่เข้ามาแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการทำวิจัย
โดยลักษณะทางด้านต่างๆของกลุ่มผู้ใช้โครงการที่กล่าวมานี้จะนำไปเป็นพื้นฐานในการกำหนดแนวความคิดสำหรับแต่ละกลุ่มผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยการวิเคราะห์จะเป็นไปตามตารางที่    ดังนี้
ตาราง2.3 ตารางวิเคราะห์ลักษณะเด่นของกลุ่มผู้ใช้โครงการ ตลอดจนความสัมพันธ์ของผู้ใช้โครงการกับการดำเนินกิจกรรมหลัก และกิจกรรมรองภายในโครงการ
กลุ่มผู้ใช้
ปริมาณผู้ใช้ (คน)
ลักษณะเด่นของกลุ่มผู้ใช้
กิจกรรมหลักของกลุ่มผู้ใช้
กิจกรรมรองของกลุ่มผู้ใช้

1.กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติทุกเพศทุกวัย








2.กลุ่มนักเรียนนักศึกษา






3.กลุ่มนักวิจัย
















4.กลุ่มผู้ฝึกสัตว์น้ำ






5.ผู้บริหาร





6.เจ้าหน้าที่และพนักงาน




7.กลุ่มพนักงานในส่วนร้านค้า





2,011
คนต่อวัน

















30 คน
















กลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีความสนใจในเรื่องของระบบนิเวททางทะเลและต้องการหาความรู้หรือต่อยอดความรู้ที่มี
กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ามาชมโครงการเพื่อความเพลิดเพลิน โดยจะมากันเป็นหมู่คณะ

เป็นกลุ่มคนวัยรุ่น ส่วนมากจะศึกษาไม่เกินในระดับปริญญาตรี
มีความสนใจในเรื่องของระบบนิเวททางทะเลและจะมาเป็นหมู่คณะ

เป็นกลุ่มคนอายุ 25 ปีขึ้นไป มีความรู้ในเรื่องของระบบนิเวททางทะเลและมีความคิดรึเริ่มสิ่งใหม่ๆโดยเป็นนักวิจัยทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ








มีความรู้ความสามารถในการฝึกสัตว์น้ำเพื่อการแสดงและมีความรักสัตว์น้ำ




อายุ 35ปีขึ้นไป มีความเป็นผู้นำ ีความรับผิดชอบกล้าที่จะตัดสินใจ

มีความสามารถในการทำงานและรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย


ทำงานบริการได้ดี มีความสนใจและมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

ทำกิจกรรมภายในโครงการ
ชมในส่วนของพิพิธภัณฑ์ ใช้งาส่วนของศูนย์การเรียนรู้และชมการแสดงโชว์





ทำกิจกรรมภายในโครงการ
ชมในส่วนของพิพิธภัณฑ์ ใช้งาส่วนของศูนย์การเรียนรู้และชมการแสดงโชว์

ศึกษา ค้นคว้า วิจัยในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวททางทะเล










รับผิดชอบดูแลในการฝึกสัตว์น้ำ






รับผิดชอบดูแลบริหารโครงการให้มีศักยภาพ


ทำงานและประสานงานในส่วนต่างๆที่ได้รับมอบหมาย


จำหน่ายสินค้าภายในโครงการ

ทานอาหาร ซื้อของที่ระลึก พักผ่อน











ทานอาหาร ซื้อของที่ระลึก พักผ่อน ศึกษาในส่วนของงานระบบในกรณีที่ต้องการศึกษาเพื่อนำความรู้ไปใช้ในการประกอบกิจกรรม




ประชุม แลกเปลี่ยนความรู้ บรรยาย
ทานอาหาร













ให้คำแนะนำในโครงการ







เข้าประชุมและติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ




ประชุม ดูแล



































 ที่มา : จากกรณีศึกษา
2.1.2 กิจกรรม (Activities)
เป็นการศึกษาข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ลักษณะของกิจกรรม และรูปแบบพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในโครงการ  การตอบสนองของพฤติกรรมต่อกิจกรรมในโครงการ รวมไปถึงช่วงเวลา และความถี่ของการทำกิจกรรมนั้นๆภายในโครงการ
1.ประเภทของกิจกรรม(Types of Activity)
2.รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้(User’s Behavioral Patterns)
             2.1รูปแบบพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มาใช้โครงการ
2.2รูปแบบพฤติกรรมของกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่มาใช้โครงการ
2.3รูปแบบพฤติกรรมของกลุ่มนักวิจัยที่มาทำงานในโครงการ
2.4รูปแบบพฤติกรรมของกลุ่มจากหน่วยงานต่างๆที่มาใช้โครงการ
2.5รูปแบบพฤติกรรมของกลุ่มที่มาจัดนิทรรศการภายในโครงการ
2.6รูปแบบพฤติกรรมของกลุ่มผู้มาอบรมและสัมมนาภายในโครงการ
2.7รูปแบบพฤติกรรมของกลุ่มผู้บริหารโครงการและพนักงานโครงการ
3.พฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของกิจกรรม(Behavior and Environment)

ตาราง2.4 แสดงลักษณะความสัมพันธ์ของกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในโครงการกับกลุ่มผู้ใช้โครงการแยกตามประเภทของกิจกรรม
ที่มา : จากกรณีศึกษา
2.รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้(User’s Behavioral Patterns)
            จากการศึกษาถึงรูปแบบพฤติกรรมของการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มผู้ใช้สอยโครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทะเล หัวหิน  นั้นพบว่าลักษณะของรูปแบบพฤติกรรมจะเป็นไปในลักษณะที่คล้ายคลึงกันในแต่ละกลุ่มของผู้ใช้โครงการ ซึ่งสามารถจำแนกรูปแบบพฤติกรรมต่างๆตามลักษณะของกลุ่มผู้ใช้โครงการ ได้ดังนี้
2.1พฤติกรรมของผู้ใช้โครงการในกลุ่มของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ
          -นักท่องเที่ยวเข้าสู่โครงการโดยจะซื้อบัตรและเข้าชมส่วนของพิพิธภัณฑ์ นิทรรศการและการแสดงโชว์
            -ก่อนที่จะเข้าชมส่วนของพิพิธภัณฑ์นักท่องเที่ยวบางส่วนอาจเข้าชมส่วนของพิพิธภัณฑ์หรือเข้าใช้บริการหลังจากเข้าชมส่วนพิพิธภัณฑ์แล้ว
            -หลังจากเข้าชมในทุกส่วนของโครงการแล้วนักท่องเที่ยวจะออกมาบริเวณร้านขายของที่ระลึกและร้านอาหาร
2.3รูปแบบพฤติกรรมของกลุ่มนักวิจัย
-เข้าสู่โครงการโดยอาจเดินเข้ามาทางโถงหลักหรือเข้ามาทางเข้าของส่วนบริการ
-เข้าสู่ส่วนของห้องวิจัยทำตามหน้าที่ของแต่ละฝ่าย
-พักรับประทานอาหาร
-เลิกงานออกจากโครงการ
-อาจมีนักวิจัยบางกลุ่มที่ทำการวิจัยตลอดทั้งวันทำให้บางกลุ่มต้องนอนที่โครงการ
2.4รูปแบบพฤติกรรมของกลุ่มผู้บริหาร และพนักงาน
-เข้าสู่โครงการโดยพนักงานเข้าทางส่วนบริการหรือผู้บริหารเข้าทางโถงหลักหรือส่วนบริการ
-เข้าทำหน้าที่ของแต่ละฝ่าย
-การเข้าทำหน้าที่ในบางครั้งมีการประชุมเรื่องต่างๆภายในโครงการหรือส่วนที่เกี่ยวข้อง
-พักรับประทานอาหาร
-กลับเข้าทำหน้าที่ของแต่ละฝ่าย
-ออกจากโครงการ
-ในบางกรณีพนักงานดูแลส่วนของงานระบบต่างๆของโครงการต้องอยู่ประจำโครงการสาเหตุจากมีระบบขัดข้อง
2.4รูปแบบพฤติกรรมของบริการอาคาร
-เข้าสู่โครงการโดยเข้าทางส่วนบริการ
-เข้าทำงานตามหน้าที่ของแต่ละฝ่าย
-การเข้าทำหน้าที่ในบางครั้งมีการประชุมเรื่องต่างๆภายในโครงการหรือส่วนที่เกี่ยวข้อง
-พักรับประทานอาหาร
-กลับเข้าทำหน้าที่ของแต่ละฝ่าย
-ออกจากโครงการ
3.พฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของกิจกรรม(Behavior and Environment)
การศึกษาและวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของพฤติกรรม หรือสภาพแวดล้อมกับ
กิจกรรมนั้นๆ ว่าต้องการหรือไม่ต้องการพฤติกรรม หรือสภาพแวดล้อมแบบใด เพื่อนำไป
กำหนดแนวความคิดในการออกแบบพื้นที่ใช้สอยให้ตอบสนองต่อความต้องการของกิจกรรม
ตาราง2.4 แสดงความสัมพันธ์ลักษณะกิจกรรม กับพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของกิจกรรม
กิจกรรม


ลักษณะของกิจกรรม
ระยะเวลาของกิจกรรม(ครั้ง)
พฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของกิจกรรม
พฤติกรรม-สภาพแวดล้อมที่ต้องการ
พฤติกรรม/สภาพแวดล้อมที่ไม่ต้องการ
1.ส่วนจัดแสดงและพิพิธภัณฑ์



ชมสัตว์น้ำโดยในส่วนนี้แบ่งเป็นโซนๆโดยมีทั้ง Giant tankและTankต่างๆ
30-50 นาที
-มีการนำเสนอเรื่องราวในแต่ละส่วนที่น่าสนใจ
-มีการจัดสภาพแวดล้อมภายใน tankให้มีความสมจริงมากที่สุด
-สภาพแวดล้อมภายในส่วนพิพิธภัณฑ์มีความกลมกลืมเหมือนกำลังเดินอยู่ใต้ทะเล
-สภาพอากาศภายในสบายไม่ร้อนอบ
-
-มีการวิ่งเล่นภายในส่วนจัดแสดง
-ไม่ทำตามป้ายห้ามในส่วนจัดแสดง
-สภาพแวดล้อมภายในไม่สะอาด
-เกิดความเสียหายของ tank จัดแสดงโดยไม่มีการดูแล





2.ส่วนศูนย์วิจัย

ทำการวิจัยทดลองรวมไปถึงการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำและปะการัง


8-24ชั่วโมง
-มีการจัดงานระบบที่ดี
-มีอุปกรณ์ที่ทันสมัย
-มีความปลอดภัย
-มีเจ้าหน้าที่คอยดูแล
-มีการจัดวางอุปกรณ์ในการวิจัยที่เป็นระเบียบ
-ห้องทดลองสะอาด


-ไม่มีความเป็นส่วนตัวในการทำงานวิจัย
-ห้องวิจัยไม่สะอาด
-ห้องวิจัยไม่ปลอดภัย
กิจกรรม
ลักษณะของกิจกรรม
ระยะเวลาของกิจกรรม(ครั้ง)
พฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของกิจกรรม
พฤติกรรม-สภาพแวดล้อมที่ต้องการ
พฤติกรรม/สภาพแวดล้อมที่ไม่ต้องการ
3.ส่วนศูนย์การเรียนรู้

เป็นส่วนที่ใช้ศึกษาและเรียนรู้ในเรื่องของระบบนิเวททางทะเล
1- 2 ชั่วโมง
-มีหนังสือประกอบการศึกษาที่ครบถ้วย
-มีการดูแลที่ดี
-ศูนย์การเรียนรู้สะอาด
-มีเจ้าหน้าที่ดูแล
-ขาดหนังสือในการประกอบการศึกษา
-หนังสือมีความเก่าไม่สะอาด
-ห้องแคบไม่มีอากาศถ่ายเท

4.ส่วนร้านอาหารและร้านขายของที่ระลึก

ส่วนที่ใช้รับประทานอาหารและซื้อของที่ระลึกของโครงการ





2-3
ชั่วโมง
-มีเนื้อที่ในการรองรับผู้ใช้โครงการได้
-มีการจัดการที่ดี
-สะอาดมีการจัดวางส่วนรับประทานอาหารที่เป็นระเบียบ
-มีการจัดสภาพแวดล้อมภายในที่ดี
-มีการระบายอากาศที่ดี







-ภายในศูนย์อาหารไม่สะอาด
-ไม่สามารถรองรับผู้ใช้โครงการได้
-แออัดอากาศไม่ถ่ายเท
-มีการจัดการที่ไม่ดี

5.ส่วนลานแสดงโชว์กลางแจ้ง












6.ส่วนห้องประชุม





7.ส่วนสาธารณะ




8.ส่วนบริหาร




9.ส่วนงานระบบและส่วนบริการ





ส่วนของลานแสดงโชว์สัตว์น้ำโดยลานแสดงจะเป็นลานแสดงแบบกึ่งเปิด









ใช้สำหรับการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น


ใช้เป็นสถานที่พักผ่อนและได้สัมผัสบรรยากาศของทะเล


ส่วนของการบริหารจัดการโครงการ


เป็นส่วนที่ใช้บำรุงรักษา ทำความสะอาดจัดการระบบต่างๆภายในโครงการ


1-1.30 ชั่วโมง











1-2
ชั่วโมง




6-8
ชั่วโมง



6-8
ชั่วโมง


6-8
ชั่วโมง

-มีการจัดการที่ดี
-ผู้ใช้โครงการสามารถมองเห็นการแสดงได้อย่างชัดเจน
-มีความปลอดภัย
-มีความสะอาด
-มีอากาศถ่ายเท
-สภาพแวดล้อมในส่วนแสดงสอดคล้องกับส่วนอื่นๆภายในโครงการ




-สะอาด
-มีการจัดการและงานระบบที่ดี
-อากาศถ่ายเท
-รองรับผู้ใช้โครงการได้เพียงพอ

-สภาพแวดล้อมสวยงามมีการจัดการที่ดี
-มีกิจกรรมเพื่อเสริมความรู้


-มีการจัดการที่ดี
-มีการจัดพื้นที่ที่เหมาะสม
-มีอากาศถ่ายเทสะอาด

-มีการจัดการงานระบบที่ดี
-มีอากาศถ่ายเท
-ปลอดภัยในการทำหน้าที่


-อากาศไม่ถ่ายเท
-ส่วนจัดแสดงไม่สะอาด
-มีการฝ่าฝืนกฎของส่วนลานแสดง
-ไม่มีความปลอดภัยในการรับชมการแสดง
-มีพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการรองรับนักท่องเที่ยว





-ไม่สะอาด
-มีการทำให้สิ่งของภายในห้องประชุมเสียหาย
-อากาศไม่ถ่ายเท
-ห้องแคบไม่เพียงพอ

-สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมไม่มีการจัดการดูแลที่ดี
-มีการทำให้สิ่งของเสียหาย


-ส่วนของห้องทำงานแคบ
-อากาศไม่ถ่ายเท
-เสียงดังรบกวนจากภายนอก

-ไม่มีการตรวจดูและงานระบบ
-ไม่ปลอดภัย
-อากาศไม่ถ่ายเท
-ไม่สะอาด






2.1.3 ตารางเวลา (Time Schedule)
ลักษณะของการวิเคราะห์ข้อมูลของโครงการโดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เวลาในแต่ละส่วนต่างๆของภายในโครงการ กับลักษณะของการดำเนินกิจกรรมภายในโครงการ โดยเปรียบเทียบกับเวลาการใช้งานของโครงการต่างๆในกรณีศึกษา
            การแสดงตารางเวลาของแต่ละองค์ประกอบโครงการ(Functional Component) จะแสดงให้เห็นถึงทุกส่วน (Zone) สัมพันธ์กับทุกกลุ่มผู้ใช้โครงการตารางเวลาจะมีผลต่อการกำหนดการปิด เปิดโครงการ เป็นข้อกำหนดให้ผู้ออกแบบได้พิจารณาถึงการแยกองค์ประกอบดังกล่าว ให้มีการเข้าออกในช่วงที่ปิดทำการโครงการ นอกจากนี้ยังมีผลต่อการกำหนดระบบเทคโนโลยีอาคาร
            โดยลักษณะตารางเวลาที่ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์        มีรายละเอียดดังนี้

            -แสดงรายละเอียดเวลาในการดำเนินกิจกรรมต่างๆภายในโครงการแยกตามแต่ละองค์ประกอบของโครงการ ภายในหนึ่งสัปดาห์
-แสดงรายละเอียดเวลาในการดำเนินกิจกรรมต่างๆภายในโครงการแยกตามแต่ละองค์ประกอบของโครงการ ภายในหนึ่งวัน
ตาราง2.5 แสดงรายละเอียดเวลาในการดำเนินกิจกรรมต่างๆภายในโครงการแยกตามแต่ละองค์ประกอบของโครงการ ภายในหนึ่งวัน


2.2.1ที่ตั้ง(Site) และสภาพแวดล้อม (Environment)
            ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับที่ตั้ง และสภาพแวดล้อมของโครงการที่นำมาใช้ในการเลือกที่ตั้งโครงการ(Criteria for Site Selection) โดยอ้างอิงจากโครงการที่เป็นกรณีศึกษา โดยโครงการสถาบันส่งเสริมแฟชั่นดีไซน์นานาชาติ มีหลักเกณฑ์ และหัวข้อในการพิจารณา ดังนี้
ตาราง2.6 สรุปความสำคัญของหลักเกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทะเล หัวหิน
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาที่ตั้ง
(CRITERIA FOR SELECTION)
ระดับความสำคัญต่อการเลือกที่ตั้งโครงการ
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
ไม่มี
สภาพการตลาดและส่วนแบ่ง  (Marketing Share)


/



ราคาที่ดิน  (Land Cost)

/




การใช้ที่ดิน (Land Use)

/




โครงสร้างบริการสาธารณะพื้นฐาน(Infrastructure and Facilities)


/



ความสะดวกในการเข้าถึง (Accessibility)

/




การคมนาคม และสภาพการจราจร  (Transportation and Traffic)


/



ลักษณะประชากร (Population)



/


ความปลอดภัย (Safety)


/



ความเหมาะสมของประเภทอาคาร(Conformity)


/



หลักเกณฑ์ในการพิจารณาที่ตั้ง
(CRITERIA FOR SELECTION)
ระดับความสำคัญต่อการเลือกที่ตั้งโครงการ
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
ไม่มี
การมองเห็นที่ตั้งและลักษณะเชื้อเชิญ (Approach and Invitation)

/




ทิวทัศน์  (View from Site)

/




ความสัมพันธ์โครงการที่เกี่ยวข้อง(Linkage)


/



แนวโน้มการได้รับประโยชน์จากระบบขนส่งมวลชน (MASS TRANSIT)


/



การขยายตัวโครงการ  (Project Expansion)



/


แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน (Trend in Changing Land Use)



/


แนวโน้มของการอยู่ในที่เวนคืน(Expropriation)




/

แนวโน้มการขยายตัวของชุมชนข้างเคียง



/




ที่มา : จากกรณีศึกษา
2.2.2จินตภาพ(Image)
การศึกษาข้อมูลของลักษณะภายนอกและภายในที่ปรากฏออกมาในงานสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านรูปทรง สี องค์วัสดุ หรือประกอบอื่นๆที่มองเห็นแล้วก็ให้เกิดจินตภาพที่สอดคล้องกับแนวความคิดของโครงการ
            โดยโครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทะเล หัวหิน ได้ทำการศึกษาทางด้านจินตภาพของโครงการที่สอดคล้องกับลักษณะของโครงที่เป็นสถาบันทางการศึกษา โดยอ้างอิงถึงโครงการในประเทศต่างๆที่มีคุณภาพทางด้านจินตภาพโครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทะเล หัวหิน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับโครงการอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีหัวข้อรายละเอียดในการพิจารณา ดังนี้
                1.จินตภาพภายนอก(External Image)
            2.จินตภาพภายใน(Internal Image)
1.จินตภาพภายนอก(External Image)
ศึกษาภาพรวมที่ปรากฏอยู่ภายนอกของงานสถาปัตยกรรมของอาคารที่เป็นกรณีศึกษา เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ แนวความคิด  วิธีการจัดการ และวิธีการออกแบบให้ได้ตามแนวความคิดที่วางไว้  โดยมีรายละเอียดย่อยในการพิจารณา
1.2ลักษณะ(Characteristic)
สถาปัตยกรรมที่สะท้อนถึงศิลปวัฒนธรรมของประเทศที่ตั้ง ทั้งในส่วนของรูปทรง พื้นที่ว่าง วัสดุ และองค์ประกอบ ต่างสร้างภาพลักษณ์เฉพาะตัวให้แก่งานสถาปัตยกรรม ลักษณะของงานสถาปัตยกรรมที่สะท้อนภาพลักษณ์ออกมาอย่างโดดเด่น และความนำสมัย ซึ่งสามารถบ่งบอกประเภทของโครงการออกมาได้อย่างชัดเจนในรูปลักษณ์ของงานสถาปัตยกรรม
1.3รูปแบบ(Style)
เป็นโครงการที่มีรูปแบบและสไตล์ที่ชัดเจนของยุคสมัย หรือพูดได้ว่าไม่มีความล้าสมัยไปตามกาลเวลา โดยเน้นรูปแบบที่เรียบง่าย แต่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของโครงการ
 1.4สัดส่วน(Proportion) จังหวะ(Rhythm) และลำดับ(Order/Hierarchy)
โครงการที่มีสัดส่วนของอาคารที่สวยงาม สามารถบอกความสำคัญของแต่ละการใช้ประโยชน์ใช้สอยภายในโครงการได้อย่างชัดเจน อีกทั้งการใช้องค์ประกอบต่างๆที่เห็นได้จากภายนอก เป็นตัวกำหนดจังหวะ และลำดับของตัวงานสถาปัตยกรรมซึ่งมีผลต่อมุมมองจากภายนอกสู่ตัวอาคาร

1.5มุมมองของการเข้าถึง(Approach)
1.6สภาพแวดล้อมโครงการ(Landscape)
โครงการที่มีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม โดยเฉพาะการออกแบบอาคารให้เข้ากับธรรมชาติโดยรอบได้อย่างลงตัว และสามารถใช้สภาพแวดล้อมมาเสริมสร้างภาพลักษณ์โครงการให้โดดเด่นยิ่งขึ้นโดย
 2.จินตภาพภายใน(Internal Image)
          การศึกษาถึงลักษณะจินตภาพภายในของโครงการที่เป็นกรณีศึกษา ซึ่งนำมาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบพื้นที่ว่างของโครงการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำฝั่งทะเลอันดามันจังหวัดกระบี่ โดยมีรายละเอียดในการพิจารณาจินตภาพภายในโครงการ ดังนี้
 2.1ลักษณะและคุณภาพของพื้นที่ว่าง(Character and Quality of Space)
โครงการที่มีลักษณะและคุณภาพของพื้นที่ว่างที่สามารถสื่อภาพลักษณ์ของโครงการออกมาได้ดี โดยเฉพาะในการเชื่อมพื้นที่ว่างภายในแต่ละส่วนของอาคาร การเชื่อมต่อพื้นที่ว่างภายในและภายนอกอาคาร ตลอดจนพื้นที่ว่างที่เป็นพื้นที่ว่างหลักของโครงการนั้นต่างมีลักษณะที่โดดเด่น และเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่โครงการ
2.2จังหวะ(Rhythm) และลำดับของพื้นที่ว่าง (Order /Hierarchy of Space

2.3แสงในโครงการ(Lighting)
2.3 ข้อมูลพื้นฐานโครงการด้านเศรษฐศาสตร์ (Economy Facts)
เป็นการศึกษาข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับการลงทุน การเงินของโครงการ และระดับคุณภาพของโครงการ ซึ่งจะน้าเอาข้อเท็จจริงมาเป็นพื้นฐานสำหรับการกำหนดคุณภาพ งบประมาณ และการคำนวณรายละเอียดของโครงการในบทต่อไป โดยการค้นหาข้อมูลเหล่านี้ ได้มาจากวิเคราะห์และเปรียบจากกรณีศึกษา ซึ่งจากการศึกษาได้น้าเอากรณีศึกษา 2 โครงการ ซึ่งมีลักษณะที่ใกล้เคียงกันมาท้าการศึกษา คือ
กรณีศึกษาที่ 1: สถานแสดงพันธ์สัตว์น้ำ จ.ภูเก็ต
กรณีศึกษาที่ 2: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา, บางแสน
2.3.1 การลงทุนของโครงการ (Total Project Investment)
แหล่งที่มาของเงินทุน
กรณีศึกษาที่ 1 : สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ จ.ภูเก็ต
ได้รับเงินทุนจากรัฐบาลแบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่
1. งบประมาณการจัดตั้งโครงการ โครงการได้รับการสนับสนุนจากแหล่งต่างๆคือ - ภาครัฐบาลในความรับผิดชอบของม.บูรพา - การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย - เงินทุนช่วยเหลือพิเศษ (EDOWMENT FUND
และ PRIVATE GIFT) - เงินบริจาคของภาคเอกชน (PUBLIC DONATIONS) - โครงการความร่วมมือทางวิชาการไทย เดนมาร์ก - โครงการความร่วมมือระหว่าง ASIAN – AUSTRALIA
2. งบประมาณสำหรับดำเนินการในแต่ละปี ซึ่งโครงการได้รับเงินทุนจากแหล่งเงินทุนต่างๆ ดังนี้ - งบประมาณประจ้าปีของม.บูรพา - เงินบริจาคของภาคเอกชน รายได้จากการดำเนินการภายในโครงการเช่น ค่าเข้าชม รายได้จากร้านขายของที่ระลึก
กรณีศึกษาที่ 2 : สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา, บางแสน
เป็นโครงการที่ไม่มีเงินสนับสนุนจากรัฐบาล โดยได้รับความอนุเคราะห์ด้านการออกแบบและการก่อสร้างอาคารจากรัฐบาลญี่ปุ่น รวมเป็นจ้านวนเงินในการจัดตั้งโครงการทั้งสิ้นประมาณ 230,000,000-บาท หลังจากนั้นรัฐบาลไทยจึงได้เข้ามาดำเนินการในด้านการบริหารของโครงการและในส่วนเงินสนับสนุนจากภาคเอกชน
งบประมาณในการจัดตั้งโครงการ
กรณีศึกษาที่ 1 : สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ จ.ภูเก็ต ค่าก่อสร้าง สามารถจำแนกเป็นงบประมาณด้านต่างๆได้ดังนี้
- งบประมาณในการก่อสร้างอาคารหลัก 20,360,800 บาท
- งบประมาณในการปรับพื้นที่รอบอาคารและ ก่อสร้างลานจอดรถ ถนน ทางเดินเท้า ทางระบายน้ำ เขื่อนและสนามหญ้า 9,227,168 บาท
- งบประมาณในการติดตั้งแผ่น Acrylic ภายใน 3,658,000 บาท
- งบประมาณในการตกแต่งภายในและครุภัณฑ์ 2,158,680 บาท
รวมงบประมาณในการจัดตั้งโครงการ 35,404,648 บาท
ค่าก่อสร้างอาคารหลัก โดยคิดจากราคาค่าก่อสร้างอาคารกับค่าติดตั้งแผ่น Acrylic ภายในโครงการ
คิดเป็นเงิน 20,360,800 + 3,658,000 บาท = 24,018,800 บาท
พื้นที่ก่อสร้างอาคาร 4,500 ตารางเมตร
พื้นที่โครงการ 52 ไร่ หรือ 52 X1600 = 83,200 ตารางเมตร
ดังนั้น ค่าก่อสร้างต่อตารางเมตร 24,018,800 / 4500 บาท / ตารางเมตร
ค่าก่อสร้างอาคารรวม 5,337 บาท / ตารางเมตร 
- งบประมาณโครงการ / ตารางเมตร
วิธีคิด งบประมาณโดยรวมยกเว้นค่าที่ดินหารด้วยพื้นที่ก่อสร้างอาคาร
35,404,648 / 4500 = 7,868 บาท / ตารางเมตร
ดังนั้น งบประมาณของโครงการ 7,868 บาท / ตารางเมตร
กรณีศึกษาที่ 2 : สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา บางแสน
ค่าก่อสร้าง เป็นราคาเฉพาะค่าก่อสร้าง โดยหักค่าใช้จ่ายออกไปประมาณ 20 % เป็นค่าใช้จ่ายนอกเหนือไปจากการก่อสร้าง ได้แก่ ค่าออกแบบ ค่าปรับปรุงพื้นที่ ปรับพื้นที่รอบอาคารและ ก่อสร้างลานจอดรถ ถนน ทางเดินเท้า ทางระบายน้ำ เสาไฟฟ้า และ Landscape
เป็นเงิน 46,000,000 บาท
จะเป็นค่าก่อสร้างอาคารทั้งสิ้น 184,000,000 บาท
พื้นที่ก่อสร้างอาคาร 13,022 ตารางเมตร
พื้นที่โครงการ 30 ไร่ หรือ 30X1600 = 48,000 ตารางเมตร
ดังนั้น ค่าก่อสร้างต่อตารางเมตร 184,000,000/13,022 บาท / ตารางเมตร
ค่าก่อสร้างอาคารรวม 14,130 บาท / ตารางเมตร
- งบประมาณโครงการ / ตารางเมตร
วิธีคิด งบประมาณโดยรวมยกเว้นค่าที่ดินหารด้วยพื้นที่ก่อสร้างอาคาร
230,000,000/13,022 = 7,868 บาท / ตารางเมตร
ดังนั้น งบประมาณของโครงการ 17,662 บาท / ตารางเมตร

2.4  ข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ( TECHNOLOGY FACTS )
ศึกษาข้อมูลต่าง ๆที่เป็นพื้นฐานระบบเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาคาร เพื่อ
ทราบถึงงานระบบของโครงการและสามานำมาเลือกใช้วิเคราะห์และกำหนดแนวความคิดได้อย่างถูกต้อง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
-ระบบประกอบอาคาร (Building System)
-เทคโนโลยีพิเศษ(Specific Technology)
2.4.1 ระบบประกอบอาคาร (BUILDING SYSTEM)
ศึกษาข้อมูลต่างๆที่เป็นพื้นฐานที่จะนำไปใช้ในการกำหนดชนิดประเภท ความสามารถ ความจุ
ประสิทธิภาพ และอื่นๆของระบบประกอบอาคารที่เหมาะสมกับโครงการ ซึ่งในแต่ละระบบก็จะมีความ
แตกต่างกันไป ตามรูปแบบของการใช้งาน ดังนั้นจึงควรพิจารณาระบบประกอบอาคารให้มีความเหมาะสมกับโครงการ โดยที่ระบบที่ปรากฏอยู่ในโครงการทั่วไปในปัจจุบัน มีดังนี้
ระบบบำบัดน้ำเสีย
ระบบสุขาภิบาล (SANITARY)
ระบบไฟฟ้ากำลัง (ELECTRICITY)
ระบบสื่อสารโทรคมนาคม(COMMUNICATION)
ระบบป้องกันอัคคีภัย ดับเพลิง (FIRE PROTECT & EXTINGUISH)
ระบบแสงสว่าง (LIGHT)
ระบบไฟฟ้าสำรอง (BACK UP ELECTRICITY)
2.4.2 เทคโนโลยีพิเศษเฉพาะโครงการ ( Specific Technology)
เป็นการศึกษาข้อมูลของเทคโนโลยีพิเศษ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการโดยตรง ซึ่งเป็นเทคโนโลยี
เฉพาะที่ใช้กับโครงการประเภทนี้ ซึ่งมีความจำเป็นมากกว่าโครงการอื่น อันได้แก่ ระบบหมุนเวียนน้ำ
และระบบบำบัดน้ำภายใน Aquarium ซึ่งศึกษาจาก
            กรณีศึกษาที่ 1 สถานแสดงพันธ์สัตว์น้ำ จ.ภูเก็ต
กรณีศึกษาที่ 2 สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา
1. ระบบน้ำ (WATER SYSTEM)
ระบบน้ำสามารถแบ่งตามลักษณะการนำน้ำมาใช้ได้ 3 ระบบ
1. ระบบเปิด ( Open Water System )
2. ระบบปิด ( Close Water System )
3. ระบบรวม ( Semi-Close Water System )
การเลือกใช้ระบบน้ำจะต้องคำนึงถึงตำแหน่งที่ตั้งของโครงการเป็นหลัก และคำนึงถึงคุณภาพของน้ำที่จะนำมาใช้ในโครงการ โดยจากที่ทำการศึกษากรณีศึกษา จะได้ดังต่อไปนี้
(1). ระบบเปิด (Open Water System)
เป็นระบบที่นำน้ำทะเลเข้ามาใช้ภายในโครงการเพียงครั้งเดียว คือเมื่อใช้แล้วก็จะปล่อยน้ำในส่วนAQUARIUM ลงสู่ทะเลเลยโดยไม่นำกลับมาใช้ใหม่ ระบบนี้จะใช้ได้กับโครงการที่ตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำทะเลที่มีคุณภาพน้ำที่ดี ซึ่งจะต้องมีปริมาณแพลงตอนและปริมาณของออกซิเจนอยู่ในระดับที่พอเหมาะสม
การทำงานของระบบ Open Water System
เป็นการสูบน้ำจากทะเลเข้าบ่อพักเพื่อรอให้น้ำตกตะกอน และนำไปเก็บไว้ที่ถังเก็บน้ำเพื่อรอปล่อยไปยังส่วนตู้แสดงสัตว์น้ำ จากนั้นน้ำก็จะถูกส่งต่อไปยังส่วนบำบัดน้ำเสียเพื่อให้ได้น้ำที่สะอาดก่อนปล่อยสู่แหล่งธรรมชาติอีกครั้ง
เป็นระบบที่มีการนำน้ำทะเลเข้ามาหมุนเวียนในโครงการ โดยผ่านกระบวนการกรองน้ำตลอดเวลาเพื่อรักษาคุณภาพของน้ำ เป็นระบบที่ให้น้ำไหลผ่านถังแสดงตลอดเวลา และไหลเข้าสู่ถังเก็บในระบบการกรอง และระบบนี้จะต้องคอยเติมน้ำเพิ่ม เพราะน้ำจะระเหยไป จะเสียเปรียบระบบแรกตรงที่ปริมาณแพลงตอนและออกซิเจนจะลดลงทุกครั้งที่นำขึ้นมาใช้ในโครงการ
2. ระบบปิด การทำงานของระบบ Close Water System
             คือการกำจัดแอมโมเนียออกจากน้ำ โดยการเปลี่ยนแอมโมเนียให้เป็นไนเตรท โดยการ OXIDATION โดยใช้แบคทีเรีย ปฏิกิริยาเคมีนี้จะมีผลต่อสัตว์น้ำที่นำมาแสดงน้อยมาก และเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นทั่วไป
ในธรรมชาติ แบคทีเรียเหล่านี้จะอาศัยอยู่ในทราย และมีปริมาณการเติบโตน้อย ดังนั้นในระบบการกรองจึงมีการอาศัยทรายปะการัง และปะการังซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของแบคทีเรีย จึงจำเป็นที่จะต้องให้ทรายเปียกอยู่เสมอ
3. ระบบการหมุนเวียนน้ำ (Water Circulation)
การดูแลรักษาน้ำจะเริ่มขึ้นทันทีเมื่อมีการปล่อยน้ำลงสู่ถังแสดง โดยเฉพาะในถังแสดงขนาดใหญ่และ Acrylic Tunnel ซึ่งในแต่ละระบบจะประกอบไปด้วยถังสำรองน้ำ ซึ่งทำหน้าที่ในการเก็บน้ำ และเป็นตัว BUFFER ในการปรับคุณภาพน้ำ ทั้งในด้านอุณหภูมิและสภาวะอื่นๆ ให้มีความใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งมีลักษณะของการหมุนเวียนน้ำในแบบต่างๆ ดังนี้
น้ำที่ออกมาจากถังจะต้องไปผ่านกระบวนการกรองอีกครั้งก่อนนำไปใช้อีกครั้งเพื่อป้องกันเชื้อโรคภายในถังสำรองควรผ่านการกรองในชั้นต้นมาแล้ว แต่ในถังใหญ่อาจใช้วิธีแค่การตกตะกอนเท่านั้น
4. ระบบการกรองน้ำ
การกรองน้ำโดยอาศัยเครื่องกรองนับว่ามีความสำคัญมาก การเลี้ยงปลาทะเลใน Aquarium หากขาดเครื่องกรองแล้ว ปลาจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน เครื่องกรองสำหรับAquarium มี 2 ระบบคือ ระบบเปิด (Open System) กับระบบปิด (Closed System) การกรองแบบระบบปิดนั้นใช้กับอะควาเรียมขนาดเล็กหรือขนาดกลางเป็นส่วนใหญ่ ส่วนระบบเปิดเป็นระบบที่นิยมใช้กับอะควาเรียมขนาดเล็กหรือขนาดกลางเป็นส่วนใหญ่ส่วนระบบเปิดที่นิยมใช้กับAquariumใหญ่ๆ ในต่างประเทศ
4.1 การกรองน้ำแบบระบบปิด (Closed System)
หลักการของระบบ คือ สูบน้ำเข้าไปไว้ในถังพักก่อน แล้วจ่ายน้ำไปยังถังแสดง โดยสูบน้ำขึ้นไปไว้บนถังสูงๆ แล้วจ่ายไปยังถังแสดงโดยอาศัยท่อน้ำ ซึ่งจะมีการหมุนเวียนนำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้อีก จึงจำเป็นต้องมีการรักษาความสะอาดของน้ำ โดยนำน้ำที่ใช้แล้วผ่าน การกรองฆ่าเชื้อกรดและเติมสารเคมีแล้วจึงปั๊มขึ้นไปใช้เก็บบนถังจ่าย ระบบนี้เหมาะกับสถานที่ไกลจากทะเลหรือแหล่งน้ำเค็มและสามารถลดขนาดของเครื่องปั๊มหรือลดเวลาการทำงานของเครื่องจักร
การกรองแบบระบบปิด มี 3 แบบ คือ
1. เครื่องกรองแบบนี้เป็นระบบทีให้น้ำล้นทางส่วนบน (Over Flow) ไหลลงสู่ท่อผ่านไปยังเครื่อง
กรอง เมื่อผ่านเครื่องกรองแล้วก็จะไหลกลับสู่Aquarium อีกครั้ง หมุนเวียนเช่นนี้ตลอดไป โดยประมาณแล้วน้ำจะไหลหมดตู้ประมาณชั่วโมงละ 1 ครั้งหรือวันละ 24 ครั้ง
2. ระบบการกรองแบบนี้ เป็นระบบที่ทำให้น้ำไหลผ่านวัสดุกรอง 3 - 4 ชั้น อันได้แก่ทรายละเอียด
ทรายปะการัง กรวด ปะการัง ซึ่งอยู่ด้านล่างของตู้ซึ่งมีแผ่นตะแกรงพลาสติกที่มีตาข่ายพลาสติกถี่วางรองอีชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันมิให้กรวดหรือทรายด้านบนไหลลงมาด้านใต้ผ่านตะแกรงจะมีพื้นที่ว่าง ประมาณ 1 เซนติเมตร สำหรับเป็นที่วางท่อน้ำและท่ออากาศแบบนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การออกแบบผ่านทราย (Sub – Sand Filter)
3. การกรองแบบนี้เป็นการกรองแบบง่ายๆ คือ ใช้กำลังดันของอากาศจาก Air Pump ดันน้ำในท่อ
ให้ไหลลงสู่ถังกรองเล็ก ซึ่งอาจจะเป็นกล่องพลาสติกสี่เหลี่ยมหรือตะกร้าสี่เหลี่ยมซึ่งมีใยแก้ว
(Glass Wool) ใยไนลอน (Nylon wool) หรือแผ่นฟองน้ำเทียมเป็นวัสดุกรอง
4.2 การกรองแบบระบบเปิด ( Open System )
เป็นวิธีการที่กระบวนการมีความยุ่งยากน้อยที่สุด ในกรณีที่การจัดหาแหล่งน้ำที่ปราศจากเชื้อโรคในการเชื่อมต่อท่อโลหะ ต้องมีการป้องกัน เช่น ฉาบด้วยน้ำยากันสนิม ด้านความประหยัดควรคำนึงถึงการกำจัดน้ำหลังจากใช้แล้ว โดยทั่วไป Water Tank จะเก็บน้ำได้ในอัตราน้ำหนัก สัตว์ 1 ปอนด์ ( 0.45 ก.ก.) ต่อ น้ำ 100 แกลลอน และในทุก 4 ชั่วโมง จะใช้น้ำเพื่อเปลี่ยนถึง 1.2 2.4 ล้านแกลลอน และค่าใช้จ่ายจะมากขึ้นในการทำน้ำให้เย็นหรืออุ่น
กระบายน้ำทิ้งหลังจากใช้น้ำเพียงครั้งเดียว ของเสียจากสัตว์ต่างๆ ก็จะถูกกำจัดออกตลอดเวลา
การใช้ระบบเปิดนี้ควรคำนึงถึงว่าปลาบางชนิดจะอยู่ในน้ำเดิมได้นานๆ แต่สัตว์บางชนิด เช่น พวกไม่มี
กระดูกสันหลังจะต้องมีการเปลี่ยนน้ำอย่างรวดเร็วหลักของระบบนี้คือ สูบน้ำเข้าไปในถังแสดงโดยตรง โดยผ่านเครื่องกรองน้ำแล้วจ่ายไปยังถังแสดงต่างๆ น้ำที่เกินระดับที่ต้องการจะล้นออกมายังท่อแล้วระบายออกไป ระบบนี้ต้องสูบน้ำเข้าอยู่ตลอดเวลาแล้วปล่อยน้ำที่ใช้แล้วทิ้งไป
การกรองระบบนี้ส่วนใหญ่มักใช้กับ Aquarium ขนาดใหญ่ ซึ่งพบโดยทั่วไป ในระบบการกรองของใน Aquarium ของต่างประเทศ การกรองแบบนี้มี 2 แบบคือ
1. ระบบการกรองที่มีเครื่องกรองรวมและบ่อเก็บน้ำ (Reserved Tank) รวม น้ำจาก Aquarium
ทุกตู้จะไหลล้น (Over Flow) ลงสู่ท่อรวมไหลลงสู่เครื่องกรองน้ำที่ผ่านเครื่องกรองจะไหลลงสู่บ่อเก็บน้ำจะถูกปั๊มสู่อะควาเรียมอีก วนเวียนเช่นนี้ตลอดไป
2.ระบบที่สูบน้ำจากทะเลโดยตรงให้ผ่านเครื่องกรอง น้ำที่ผ่านเครื่องกรองแล้วจะถูกสูบเข้า
5. ระบบกำจัดน้ำเสีย
น้ำเลี้ยงสัตว์ทะเลที่ปล่อยออกมาจากโครงการ ส่วนใหญ่จะไม่สกปรกมากนัก เนื่องจากมี
สารอินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำจำนวนหนึ่ง ซึ่งควรมีการบำบัดก่อนที่จะปล่อยทิ้งในท่อสาธารณะ วิธีการที่ดีคือควรมีบ่อสาหร่ายกลางแจ้งเพื่อนำน้ำมาผ่านบ่อสาหร่าย ให้สาหร่ายช่วยดูดซับสารอินทรีย์ ซึ่งจะเป็นการช่วยให้น้ำมีความบริสุทธิ์มากขึ้น และอาจสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก กลายเป็นระบบน้ำแบบเปิด (Close Water System)
6. ระบบแสงสว่างภายในตู้จัดแสดง
การให้แสงสว่างในส่วนจัดแสดง มีความสำคัญมากในอาคารประเภท AQUARIUM เพราะต้อง
คำนึงถึง SENSITIVE ของสัตว์น้ำในการได้รับแสงตามธรรมชาติ สัตว์จะได้รับแสงในระดับหนึ่งเท่านั้น
เนื่องจากระดับความลึกที่สัตว์อาศัยอยู่ถ้าให้แสงมากไปหรือน้อยไปสัตว์อาจเกิดความเครียดและตายได้ ซึ่งในแต่ละ Tank ก็จะมีแสงสว่างต่างกัน
การให้แสงสว่างสังเคราะห์ที่เหมาะสมใน TANK ขนาดต่างๆ
- BIG TANK ใช้ไฟ MERCURY VAPOR หรือ METAL HALIDE ขนาด 250-วัตต์-ส่งเป็นโคมจาก
เพดานด้านบน-เพื่อให้เกิดแสงสว่างเพียงพอต่อการจัดแสง-และการเห็นของสัตว์น้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลา
ขนาดใหญ่ ความสว่างไม่จำเป็นต้องมาก หากต้องการ บรรยากาศใต้ทะเลลึก ให้เพิ่มหลอด ACTINIC
BLUE จะทำให้เป็นสีฟ้าเหมือนบรรยากาศใต้ทะเลลึก
- MEDIUM TANK ที่มีความลึกมากกว่า 1 เมตร ให้ใช้โคมไฟพร้อมหลอด MERCURY VAPOR
ขนาด 125 วัตต์ ทุกๆ 1 ตารางเมตร
- SMALL TANK ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์จำพวกที่ใช้เลี้ยงปลาและพืชน้ำ เช่น หลอด AQUARIUM
PLANT หลอด AQUASTAR หลอด TRITON เป็นต้น ความสว่างขึ้นอยู่กับประเภทของการเลี้ยง หากเลี้ยงพืชหรือสัตว์น้ำที่สาหร่ายในตัว จำพวกปะการัง หอยมือเสือ ต้องให้แสงสว่างมากกว่าปลา 2 3 เท่า
การให้แสงสว่างธรรมชาติ
มีข้อควรระวังคือ แสงธรรมชาติจะทำให้ตะไคร่เกาะกระจก ไม่สามารถที่จะปรับแสงให้ได้ระดับ
ตามความลึกของท้องทะเล แต่ทำให้มีความสมดุลทางธรรมชาติ ทำให้มีการหมุนเวียนของออกซิเจน
7. ขนาดและวัสดุที่ใช้ทำถังแสดง (Tank)
ลักษณะของถังแสดงนั้นมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับสถานที่และความสวยงามในการจัด แต่ที่นิยม
โดยทั่วไปในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทางทะเลคือ ทรงสี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม ทรงกระบอก ซึ่งแต่ละ
รูปร่างก็จะส่งผลต่างกันในเรื่องการมองเห็น โดยรูปร่างที่ได้รับความเห็นว่าสร้างบรรยากาศได้ดีที่สุด คือ เป็นถังรูปหกเหลี่ยมยาว ซึ่งเป็นถังที่มีบรรยากาศดีที่สุด ถังปลารูปร่างนี้วัสดุที่เหมาะสมที่สุดคือ เฟอร์โรซิเมนต์หรือพวกไฟเบอร์กลาสก็ใช้ได้แต่มีราคาแพง สามด้านเป็นเฟอร์โรซิเมนต์ อีกสามด้านเป็นกระจกสำหรับชมด้านบนเปิดโล่งสำหรับให้แสงและอาหารปลา ห้ามใช้โลหะเพราะสามารถเกิดพิษเมื่อถูกน้ำทะเลได้ หากใช้กรอบโลหะจะต้องมีพลาสติกพวกยูรีเทนหุ้มอีกชั้น การเลือกใช้วัสดุต้องใช้ให้เหมาะสมกับขนาดของถังแสดง ดังนี้

GIANT PLANT สามารถเลือกใช้กระจกหรือ ACRYLIC ก็ได้ แต่ ACRYLIC ราคาแพงกว่าหลายเท่า
หากเลือกใช้กระจกควรเป็นกระจกชนิด TENPER – LAMINATED เช่น กระจกหุนประกอบ 2 3 ชั้น แล้วแต่ขนาดช่องที่สามารถทำด้วยกระจกได้ อยู่ในขนาดประมาณ 3 เมตร 1.50 เมตร หากจะใหญ่กว่านี้ต้องใช้ACRYLIC นำเข้าจากต่างประเทศ MEDIUM TANK และ SMALL TANK ใช้กระจก TEMPER หรือTEMPER LAMINATED แล้วแต่ขนาดตู้ปลา ROUND TANK ใช้ ACRYLIC นำเข้าจากต่างประเทศ ขนาดของ TANK ไม่สามารถกำหนดขนาดได้ตายตัว แต่ต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำให้เหมาะสมกับปลา กับถังที่ออกแบบไว้ และยังขึ้นอยู่กับปริมาณของผิวน้ำด้วย โดยกำหนดไว้ดังนี้
ปลาน้ำจืด 1 นิ้ว ต่อปริมาณน้ำ 1 แกลลอน ต่อปริมาณผิวน้ำ 10 ตารางนิ้ว
ปลาน้ำเค็ม 1 นิ้ว ต่อปริมาณน้ำ 2 แกลลอน ต่อปริมาณผิวน้ำ 10 ตารางนิ้ว

วัสดุที่นำมาใช้ประกอบตู้แสดง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
- กระจก กระจกจะมีราคาถูกกว่า ทนทานต่อการขูดขีด ทำให้สะดวกต่อการทำความสะอาดหาก
เกิดตะไคร่ แต่กระจกจะมีข้อเสียคือมีสีเขียวอ่อน โดยจะเห็นได้ชัดเมื่อมีความหนาเกิน 2 หุน
- แผ่นอะคลิลิกใส เป็นวัสดุใส ไม่มีสี ทำให้มองเห็นสีสันสวยงามกว่า มีน้ำหนักเบา สะดวกต่อการ
เคลื่อนย้าย มีความยืดหยุ่น และเป็นฉนวนความร้อนได้ดีกว่ากระจก ทำให้ประหยัดไฟฟ้าในการติดตั้งเครื่องทำความเย็นแก่น้ำเลี้ยง แต่มีราคาแพง ต้องอาศัยฝีมือในการประกอบ เกิดรอยขีดข่วนง่าย และหากเป็นอะคลิลิกคุณภาพต่ำเมื่อใช้ไปนานๆ ก็จะเริ่มกลายเป็นสีเหลืองเพราะความเก่า

กระจกสำหรับ TANK การเลือกใช้วัสดุที่เป็นกระจกต้องเลือกใช้ตามความหนาของกระจก ถ้า
TANK มีขนาดใหญ่กระจกก็จะมีความหนา เพื่อให้สามารถรับแรงดันน้ำที่จะทำให้กระจกแตกได้ ซึ่งโดย
มาตรฐานแล้วใช้ความหนาดังนี้
ลึก 16 18 นิ้ว (40 50 ซม.) ใช้กระจกหนา ¼ นิ้ว
ลึก 18 22 นิ้ว (44 45 ซม.) ใช้กระจกหนา 3/8 นิ้ว
ลึก 22 30 นิ้ว (55 65 ซม.) ใช้กระจกหนา ½ นิ้ว
อ่างซึ่งทั้งลึกและยาวนั้นจะต้องมี CROSS BAR ข้างบน โดยไม่ต้องพิจารณาถึงความหนาของ
กระจกหรือรอบของตู้แสดง ก็จะต้องมีความแข็งแรงพอ วัสดุที่ใช้สำหรับช่องมอง เป็นอะคลิลิกหนา
 4 1 0ซม. โดยอะคลิลิกยิ่งหนามากเท่าไหร่ยิ่งเกิดการหลอกตาน้อยลง รับความดันได้สูง โดยขนาดของตู้ที่ใช้กับอะคลิลิกหนา ดังนี้

SMALL TANK อะคลิลิก หนา 4 เซนติเมตร
MEDIUM TANK อะคลิลิก หนา 4 เซนติเมตร
GIANT TANK อะคลิลิก หนา 4 เซนติเมตร

8. การล้างทำความสะอาด TANK
จำเป็นต้องระมัดระวังเรื่องปริมาณและคุณภาพอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ควรให้มากเกินไปจน
เหลือ และเลือกอาหารที่ไม่ทำให้น้ำขุ่นง่าย หรือเปื่อยยุ่ยง่าย จะช่วยให้น้ำมีคุณภาพดี ใสสะอาดตลอดเวลาส่วนใหญ่มักจะให้อาหารจำพวกปลาสด กุ้งสด ปลาหมึกสด กับสัตว์ที่มีขนาดใหญ่จำพวก ปลาหมอทะเลฉลาม ปลาเก๋า ปลากะพง และให้เนื้อกุ้ง หอยลาย แก่สัตว์น้ำขนาดเล็ก วันละ 2 ครั้ง
เช้า  เย็น ม้าน้ำนิยมกินพวกลูกกุ้งฝอย

การดูแลเรื่องความสะอาดใน TANK หากเกิดตะไคร่ไม่มากหรือตกตะกอนไม่มาก ไม่ควรไปรบกวนสัตว์น้ำ เพราะจะทำให้สัตว์เครียดโดยไม่จำเป็น และอาจเป็นโรคตายได้ง่าย ปกตินิยมให้ผนังด้านที่ไม่ใช่กระจกเกิดตะใคร่ได้ เพราะจะช่วยให้น้ำมีคุณภาพดี และเป็นอาหารของปลาเล็ก และแพลงตอนในน้ำ การขัดตะไคร่ที่กระจกอาจทำโดยใช้ไม้ยาวพันผ้าถูทางด้านในการตกแต่งตู้ปลา ผนังควรทำให้เหมือนธรรมชาติ คือเป็นลักษณะคล้ายหิน (จาก กรณีศึกษาที่ 2 ) และไม่นิยมใส่กรวดขนาดเล็กที่พื้นตู้หนาๆ เนื่องจากจะเป็นแหล่งสะสมของสัตว์พวกเชื้อโรค

9. เทคนิคการเคลื่อนย้ายปลา
หากปลาที่ต้องการเคลื่อนย้ายมีขนาดใหญ่ ต้องใช้เปลผ้าใบเย็บเป็นถุง และใช้รอกช่วยในการ
เคลื่อนย้าย มีการใช้ยากล่อมประสาทพวก DIAZEPEM หรือยาสลบพวก MS22 ในการช่วยทำให้สัตว์น้ำสงบลงและไม่ดิ้นมากสัตว์น้ำหรือปลาขนาดเล็ก ควรบรรจุเป็นถุงพลาสติก แล้วอัดออกซิเจน แยกถุงละ 1 ตัว เพื่อป้องกันการกัดและเสียดสี และควรควบคุมอุณหภูมิน้ำให้เย็น 24 26 องศาเซลเซียส อาจใช้ยากล่อมประสาทช่วยด้วยก็ได้
10. ระบบโครงสร้างพิเศษใต้น้ำ
Acrylic Tunnel ระบบท่อทางเดินใต้น้ำ วัสดุที่ใช้เป็นแผ่น Acrylic หนาขนาด 110 มม











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น